Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การเรียนการสอน
บริการวิชาการ
กิจกรรมการบริการความรู้สู่ชุมชนกับการบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
SDGs :
2
20 กุมภาพันธ์ 2566
คณะวิทยาการจัดการ
โครงการบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ กิจกรรมการบริการความรู้สู่ชุมชนกับการบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการฝึกอบรม สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การ “กลวิธีการจัดการและบิรการความเครียดในยุคโควิค-19”
หลักการและเหตุผล
สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตทางด้านการบริหาร หรือเป็นผู้นำในการทำงานที่มีคุณภาพและคำนึงถึง สังคม ดังนั้นการเรียนการสอนจึงต้องจัดทั้งในด้านการถ่ายทอดความรู้และทักษะทางด้านการบริหารควบคู่กันโดยบูรณาการเข้ากับชุมชนและสิ่งแวดล้อม สำหรับทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้น นอกจากหลักสูตรจะกำหนดให้เรียนรายวิชาอื่นจากสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณะวิทยาการจัดการแล้วยังกำหนดให้ต้องมีรายวิชาที่เรียนเพื่อเรมและฝึกฝนให้นักศึกษามีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์มากยิ่ง ๆ ขึ้นเพื่อให้นักศึกษาสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการ ได้รับประสบการณ์ทางด้านการบริหารในรูปแบบต่าง ๆ ภายในคณะฯ แล้ว จึงเห็นสมควรจัดทำการบริการความรู้สู่ชุมชนในด้านการพัฒนา บุคคลและการฝึกอบรม ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จ โครงการนี้จะทำให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ทราบปัญหาและสามารถการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และนอกจากนั้นยังได้ฝึกความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่ต้องการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีอาจารย์และ นักศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อน
วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
ผลผลิต
1. บุคลากรภายนอก และบุคลากรที่สนใจทั่วไป เข้าร่วมอบรมในโครงการ จำนวน 30 คน มีความ พึงพอใจ มากกว่าร้อยละ 80
2. นักศึกษาในรายวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ จำนวน 2 ห้อง จำนวน 30 คนสามารถจัดโครงการฝึกอบรมได้ และมีความพึงพอใจในการเรียนแบบบูรณาการมากกว่าร้อยละ 90
ผลลัพธ์
1. บุคลากรด้าน
HR
และบุคลากรผู้สนใจทั่วไป สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการโครงการฯ อบรมไปเตรียมความพร้อม และพร้อมรับสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
2. นักศึกษาเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะการจัดการเกี่ยวกับเวลาและการจัดโครงการฝึกอบรม ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการประสานสัมพันธ์ ทักษะการคิด ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นต้น
ผลกระทบที่ได้จากโครงการ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ อบรม ได้เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ในแนวทาง การพัฒนา เทคนิคต่าง ๆทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจมีทักษะในการสร้างอาชีพ ขยายโอกาสทางด้านอาชีพ รวมทั้งนำความรู้ที่ได้รับการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. นักศึกษาเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระด้วยตนเองตามสิ่งที่ตนเองสนใจในเชิงลึกและด้วยความ ร่วมมือและช่วยเหลือจากเพื่อน ๆ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะการจัดการเกี่ยวกับเวลาและการจัดการโครงงาน ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการประสานสัมพันธ์ทักษะการคิด ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรียานันท์ โพธิ์ศิรวัฒน์
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ