Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

โครงการค่ายผู้นำครุอาสาสัมพันธ์ครั้งที่ 8

SDGs : 4 17

23-25 ธันวาคม 2566 คณะครุศาสตร์

โครงการค่ายผู้นำครุอาสาสัมพันธ์ครั้งที่ 8
หลักการและเหตุผล
         ระบบและกลไกในการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา เป็นกิจกรรมที่เสริมหลักสูตรการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาเป็นกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสได้รับการพัฒนาตามนโนบายหลักของทางมหาวิทยาลัย ทั้ง 5 ด้าน ซึ่งประกอบไปด้วย ด้านวิชาการ ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านบำเพ็ญประโยชน์ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และด้านนันทนาการ  เพื่อให้การผลิตบัณฑิตของทางคณะครุศาสตร์ มีความครบถ้วนตามเกณฑ์ที่ทาง มคอ.1 กำหนด และสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF ที่ใช้เป็นกรอบมาตรฐานคุณภาพให้กับสถาบันอุดมศึกษาใช้เพื่อการพัฒนาหรือปรับปรุงหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและยังสอดคล้องกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่องค์การวิชาชีพได้กำหนดขึ้นเพิ่มเติม ตลอดจนสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต คณะกรรมการสโมสรนักศึกษา คณะครุศาสตร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญต่อการจัดกิจกรรมของนักศึกษาเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในหลาย ๆ ด้าน จึงได้จัดโครงการสร้างเครือข่ายนิสิต นักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ การศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือขึ้น ทั้งนี้เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพครูของ นักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และการศึกษา และเพื่อให้นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือได้มีเวทีใน การฝึกทักษะทางด้านกระบวนการ การนำทฤษฎี สู่การปฏิบัติ และรู้จักการเสียสละเพื่อส่วนรวม พร้อมทั้งยังมีการสร้างสรรค์กิจกรรมที่ดีสู่ชุมชนและท้องถิ่น อีกทั้งยังสร้างเสริมประสบการณ์ต่าง ๆ ให้แก่นักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาไปเป็นครูที่ดีและเป็นครูมืออาชีพในอนาคต 
ระยะเวลาดำเนินการ
ในระหว่างวันที่ 23 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2566
ผลผลิต 
1. นักศึกษาได้เข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาการ 8 สถาบัน ได้เพื่อนใหม่และเครือข่ายนักศึกษาครู

2. นักศึกษามีความรู้และประสบการณ์ในการแข่งขันเพิ่มขึ้น


3. นักศึกษามีความกล้าแสดงออก รู้จักนำความรู้มาบูรณาการ และปรับใช้ในรูปแบบต่าง ๆ
ผลลัพธ์
1. คณะครุศาสตร์ สามารถผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสามารถเรียนรู้บริบทในหน่วยงานได้ดีและมีทักษะพื้นฐานที่สำคัญต่อการปรับตัวในหน่วยงานได้

2. คณะครุศาสตร์ มีบัณฑิต ที่มีความกล้าแสดงออก และเป็นที่ได้รับการยอมรับในวิชาชีพครูจากชุมชนและท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น
3. สร้างความสมัครสมานสามัคคีระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง รวมไปถึงการได้มีเพื่อนใหม่ต่างมหาวิทยาลัยเป็นเครือข่ายในการทำงานได้ในอนาคต
ผลกระทบ (Impact)
1. ส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์



2. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้รับผลงานและมีชื่อเสียง  
3. นักศึกษาบัณฑิตครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มาใช้บริการการพัฒนาทักษะ (Skill Future Credit) มีการนำความรู้ไปใช้


ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทินกร ชอัมพงษ์