Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

โครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยในเทศกาลวันลอยกระทง สร้างสรรค์ประเพณีไทยสำหรับนักศึกษาครู

SDGs : 4 11

28 พฤศจิกายน 2566 คณะครุศาสตร์

โครงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยในเทศกาลวันลอยกระทง สร้างสรรค์ประเพณีไทยสำหรับนักศึกษาครู
หลักการและเหตุผล
ประเพณีวันลอยกระทง เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบสานต่อกันมาช้านานจนถึงในปัจจุบัน เป็นประเพณีที่แสดงออกถึงการให้ความกตัญญูต่อพระแม่คงคา รู้จักรักษ์แม่น้ำลำคลองให้สะอาดเพื่อลูกหลานได้ไว้กินไว้ใช้ในอนาคตต่อไป และรวมไปถึงการที่แสดงออกถึงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวและชุมชน สังคมกับธรรมชาติ ร่วมไปถึงสิ่งแวดล้อม ทำให้ประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น บำรุงรักษาศิลปะจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีงานของท้องถิ่นไทย ประเพณีวันลอยกระทงเป็นประเพณีไทยมาแต่สมัยสุโขทัย ให้ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของทุกปี ประชาชนชาวไทย จะท ากระทงเพื่อนำไปขอขมาต่อแม่น้ำลำคลอง จากที่เราได้ใช้ประโยชน์และยังมีความเชื่อว่าการลอยกระทงนั้น เป็นการแสดงถึงการขอขมาแม่น้ำคงคาให้กับตัวเองด้วยในปัจจุบันชาวไทยยังยึดถือประเพณีนี กันตามความเชื่อ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบไปคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้ตระหนักถึงความส าคัญของประเพณีวันลอยกระทง และดำเนินการตามแผนของคณะครุศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างให้นักศึกษาครูได้ตระหนักถึงวันสำคัญของประเพณีไทยและเพื่อให้เข้าใจถึงการอนุรักษ์ ฟื้นฟูสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ดำรงอยู่ รักษาศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาอันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจ ไม่ถูกกลืนไปกับกระแสโลกาภิวัตน์โดยปราศจากดุลยภาพทางปัญญาและความรู้ที่จะอนุรักษ์สิ่งที่ดีงามไว้ ทางคณะครุศาสตร์จึงได้จัดทำโครงการนี้ ขึนมาเพื่อให้นักศึกษาครูได้เร่งเห็นความสำคัญของประเพณีวันลอยกระทง สร้างสรรค์ประเพณีไทยสำหรับนักศึกษาครู
ระยะเวลาดำเนินการ
ในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
ผลผลิต
นักศึกษามีความรู้ด้านความสำคัญของประเพณีวันลอยกระทง
ผลลัพธ์
1. นักศึกษามีความเข้าใจด้านศิลปะและวัฒนธรรม
2. นักศึกษาสามารถนำความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมไปใช้ได้ในทางด้านการเรียนการสอน
ผลกระทบ
มีกิจกรรมที่ร่วมกับชุมชนเชิงสร้างสรรค์ และการกระตุ้นเศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรมของนักศึกษาครู


ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทินกร ชอัมพงษ์