Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
วิจัยและนวัตกรรม
การเรียนการสอน
โครงการพัฒนา Soft Skill ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
SDGs :
4
1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
สำนักงานอธิการบดี
จากการจัด
“
โครงการพัฒนา
Soft Skill
ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
”
นั้น มีกิจกรรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 สร้างกลไกและพัฒนากระบวนการศึกษาเพื่อพัฒนาเข้าสู่กระบวนการวิศวกรสังคม
1.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนา
Soft Skill
ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม
กิจกรรมที่ 2 สร้างกลไกและ
Plarfrom
ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครวรรค์สนับสนุน
“
วิศวกรสังคม
”
เพื่อยกระดับ
Soft Skill
ของ นศ.และบัณฑิต ในการสร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมเพื่อชุมชน
2.1 วิศวกรสังคมเก็บรวบรวมข้อมูล
2.2
วิศวกรสังคมระดมความคิดเห็นเพื่อบูรณาการผสานองค์ความรู้
กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมบัณฑิต มรภ.ให้มีบทบาทและส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมชุมชนท้องถิ่น
รวมไปถึงการพัฒนา
Social Enterprise
และสถานประกอบการท้องถิ่น
3.1 วิศวกรสังคมร่วมกับทุกศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและชุมชนลงพื้นที่
3.2 การจัดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานโครงการ
ทั้งนี้ ได้มีการประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้เครื่องมือในแบบต่าง ๆ อาทิ แบบสอบถามหรือ แบบประเมินความพึงพอใจ คิดเป็นร้อยละ การสังเกตการณ์ และแบบประเมินการเป็นนักพัฒนา 4 นักเป็นต้น โดยสรุปความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
/
กิจกรรม สามารถอธิบายได้ในลักษณะบรรยายสรุปภาพรวมของโครงการ
/
กิจกรรมดังนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งกลุ่มนักศึกษา กลุ่มอาจารย์และบุคลากร ซึ่งมีความพึงพอใจในภาพรวมของการจัดโครงการ คิดเป็นร้อยละ 97
.
41 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด และมีการลงพื้นที่สำรวจชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว ตำบลหนองยาว อำเภอลาดยาว ตำบลศาลเจ้าไก่ต่อ อำเภอลาดยาว ตำบลพรหมนิมิต อำเภอตาคลี ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จากการลงพื้นที่ชุมชนวิศวกรสังคมได้เข้าถึงและทราบถึงปัญหาภายในชุมชน จึงเกิดการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือชุมชนทางด้านการเป็นอยู่ และทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งนวัตกรรมที่วิศวกรสังคมได้คิดค้นขึ้น มีดังนี้
1. นวัตกรรมการพัฒนาเครื่องทำความสะอาดลำอ้อยและคั้นน้ำอ้อยแบบ
2 in 1
2. นวัตกรรมการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนตำบลพรหมนิมิต
3. นวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการจัดการการเรียนรู้ขนมนางเล็ด
4. นวัตกรรมเครื่องคลุกผสมปลาร้า กึ่งอัตโนมัติ (
Mix Auto)
5. นวัตกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์แชมพุสมุนไพรประดำดีควาย
วัตถุประสงค์ของโครงการ
6.1 เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ให้มีคุณลักษณะ
4
ประการ ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ได้แก่ มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง มีอาชีพมีงานทำ และเป็นพลเมืองดีมีระเบียบวินัย โดยนำองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรมมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ
6.2 เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ให้มีทักษะในการเป็นนักพัฒนาเพื่อชุมชน ได้แก่ นักคิด นักสื่อสาร นักประสานงาน และนักสร้างนวัตกรรม รวมถึงให้มีการรวมตัวเป็นเครือข่ายวิศวกรสังคมที่มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง
6.3 เพื่อสนับสนุนการนำใช้ข้อมูลชุมชนและเครื่องมือตามกรอบงานวิศวกรสังคม ในการถอดบทเรียนการดำเนินงาน การประมวลและจัดการความรู้ การพัฒนานวัตกรรมแก้โจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับพื้นที่ และระดับเครือข่าย
6.4 เพื่อพัฒนานวัตกรรมแก้โจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ โดยใช้
เครื่องมือ
5
ชิ้น
ตามกระบวนการพัฒนาสมรรถนะของวิศวกรสังคม และเสริมสร้างศักยภาพวิศวกรสังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ให้มีความพร้อมในการทำหน้าที่เป็นกลไกขับเคลื่อนเครือข่ายวิศวกรสังคม
สำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดี