Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29

หลอมรวมน้ำใจ สวมหมวกนิรภัยให้น้อง

SDGs : 3 17

15 พฤศจิกายน 2567 สำนักงานอธิการบดี

เนื่องด้วยปี 2566 คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์มากที่สุดในบรรดาอุบัติเหตุทั้งหมด คือ 9,489 ราย รองลงมาคือ รถยนต์ 1,013 ราย รถบรรทุกขนาดเล็ก รถตู้ 400 ราย คนเดินเท้า 385 ราย และรถบรรทุกหนัก 76 ราย ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลกลางด้านการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุกับรถจักรยานยนต์มากที่สุด 90.7% เกิดจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในด้านการดำรงชีวิต เพราะแสดงว่ามีผู้ขับขี่และใช้รถจักรยานยนต์ไม่ถึง 10% ที่สนใจเรื่องความปลอดภัยโดยเฉพาะการสวมหมวกนิรภัย ส่วนสาเหตุรองลงมาคือ เมาแล้วขับ 38.3% ส่วนในกรณีรถทั่วไปก็มีเรื่องของการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 37.5% ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ 33.5% และไม่คุ้นเส้นทาง 17.3%


           จากข้อมูลข้างต้นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สูงที่สุดอยู่ที่สมอง คิดเป็นร้อยละ 60– 80 สำหรับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ อุปกรณ์ที่สามารถลดความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุนั้น ได้แก่หมวกนิรภัย โดยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บ พิการ และอัตราการเสียชีวิตลงได้ แม้ว่าหมวกนิรภัยเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการลดความรุนแรงจากการบาดเจ็บทางสมอง อันเป็นการลดอัตราเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุลงได้ แต่ประชาชนทั่วไปรวมทั้งผู้ขับขี่ และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์เอง ยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้หมวกนิรภัย โดยมีรายงานการศึกษาของมูลนิธิไทยโร้ดส์พบว่า ในจำนวนผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ใน 73 จังหวัด มีผู้ที่ไม่ใส่หมวกนิรภัยสูงถึงร้อยละ 30 (มูลนิธิไทยโร้ดส์, 2553) หนึ่งในจำนวนนั้นคือในกลุ่ม เด็กเยาวชน นักเรียนและนักศึกษาเป็นต้น


           ดังนั้น กลุ่มงานพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพ กองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้เล็งเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนโครงการมาตรการองค์กรเพื่อความปลอดภัยทางถนนในมหาวิทยาลัย อาทิ เช่น สำรวจนักศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัย การไม่สวมหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่และผู้ซ้อนรถจักยานยนต์การสำรวจการไม่คาดเข็มขัดนิรภัยของผู้ขับรถยนต์ การสำรวจความเร็วเกินกำหนดของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ การสำรวจการขับขี่รถย้อนศร และการสำรวจการขับขี่จักรยานยนต์บนทางเท้า เป็นต้น