Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
วิจัยและนวัตกรรม
การเรียนการสอน
บริการวิชาการ
โครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชน ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม กิจกรรมที่ 2 การอภิปรายในหัวข้อ การประยุกต์ใช้กระบวนการวิศวกรสังคม เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนา Soft Skills สำหรับนักศึกษา
SDGs :
4
17
25-27 พฤศจิกายน 2567
สำนักงานอธิการบดี
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
(
พ.ศ. 2561
–
2580
)
กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย คือ
“
ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
”
โดยมีเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คือ
“
ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่องสังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน
”
และได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ที่มีเป้าหมายการพัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพ โดยจะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้านและมีสุขภาวะที่ดี มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรมและเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและภาษาที่ 2 และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทยที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตน จากวิสัยทัศน์และแนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ สถาบันอุดมศึกษาจึงเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติดังที่กำหนดไว้ในแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 โดยการดำเนินงานผ่านกระบวนการการจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและการสร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคสังคม ชุมชน และท้องถิ่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐตั้งอยู่ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
ซึ่งตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ
.
ศ
. 2547
กำหนดให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ในส่วนของการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้นพัฒนาและเสริมสร้างให้บัณฑิตมีคุณลักษณะของคนไทย
4
ประการ ได้แก่
1)
มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง
2)
มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มแข็ง
3)
มีงานทำ
-
มีอาชีพ และ
4)
เป็นพลเมืองดีมีระเบียบวินัย ตามพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกทั้งมุ่งพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏนั้นได้กำหนดกระบวนการพัฒนานักศึกษาเพื่อการเป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะและทักษะในศตวรรษที่ 21ที่ตอบสนองต่อการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งใช้ชื่อว่า
“
วิศวกรสังคม
”
โดยมีคุณลักษณะและทักษะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) นักคิด : ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุ-ผล (
Cause-Effect)
เห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย 2) นักสื่อสาร : ทักษะการสื่อสารองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหา 3) นักประสานงาน : ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง สามารถระดม ทรัพยากร สรรพกำลังในท้องถิ่นเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาได้ 4) นวัตกร : ทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาบนฐานข้อมูลชุมชน ซึ่งกระบวนการ “วิศวกรสังคม” เป็นกลไกการพัฒนา
Soft Skills
และคุณลักษณะและสมรรถนะทางวิชาชีพของนักศึกษาและบัณฑิต มรภ. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และพลิกโฉมการจัดการศึกษาในทุกคณะและทุกสาขาเพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกช่วงวัยตามความต้องการของท้องถิ่น ทุกพื้นที่สามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ของ มรภ. ที่มีเอกลักษณ์ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปและความต้องการของพื้นที่ มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางการศึกษา หลักสูตรฐานสมรรถนะ การจัดการศึกษาร่วมกับพันธมิตร การบูรณาการองค์ความรู้จากท้องถิ่นสู่มาตรฐานสากล การยกระดับการจัดการศึกษาและงานวิจัย ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งระดับชาติและนานาชาติ รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา
จากเหตุผลความจำเป็นข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏจึงได้ดำเนินโครงการการพัฒนา
Soft Skill
ด้วยกระบวนการวิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศเพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมีทักษะในการเป็นวิศวกรสังคม ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ เชิงเหตุ - ผล ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง และทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง แก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในมิติต่าง ๆ เช่น ด้านความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาคุณภาพชีวิต โดยการสร้างหรือนำองค์
ความรู้ที่หลากหลายในมหาวิทยาลัยมาบูรณาการในการแก้ปัญหา อีกทั้งเพื่อนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่มีในมหาวิทยาลัยราชภัฏไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน
สำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดี
สำนักงานอธิการบดี