Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น กิจกรรมที่ 3 ชุดความรู้การวิจัยเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามความเชื่อความศรัทธาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
SDGs :
8
11
4-6 มิถุนายน 2567
คณะวิทยาการจัดการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ พัฒนาอิทธิกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ติยะภรณ์ เหลืองพิพัฒน์
อาจารย์ธนิดา จอมยิ้ม
โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน
Soft power
บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น กิจกรรมที่ 3 ชุดความรู้การวิจัยเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามความเชื่อความศรัทธาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
4 - 6 มิถุนายน 2567 เส้นทางท่องเที่ยวพระเบญจภาคี
15 มิถุนายน 2567 เส้นทางท่องเที่ยวพระเกจิอาจารย์
สถานที่
ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของประเทศไทย เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตามความเชื่อความศรัทธา จำนวน 2 เส้นทาง ได้แก่ 1) เส้นทางท่องเที่ยวพระเบญจภาคี เช่น วัดพระบรมธาตุ วัดมหาวันวนาราม วัดนาพญา วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และวัดระฆังโฆสิตาราม 2) เส้นทางท่องเที่ยวพระเกจิอาจารย์ เช่นวัดบางคลาน วัดหนองโพ วัดช่องแค และวัดปากคลองมะขามเฒ่า
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรมการประเมินศักยภาพเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตามความเชื่อ ความศรัทธา (พระเบญจภาคี) จำนวน 41 คน ได้แก่ วิทยากร 1 คนอาจารย์ผู้มีส่วนได้เสียในโครงการ 10 คน และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าอบรม 30 คน เดินทางวันที่ 4-6 มิถุนายน 2567 เป็นเวลา 3 วัน 2 คืนประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ลำพูน จ.กำแพงเพชรจ.พิษณุโลก จ.สุพรรณบุรี และกรุงเทพมหานคร
2. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรมการประเมินศักยภาพ เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตามความเชื่อ ความศรัทธา (พระเกจิอาจารย์) จำนวน 25 คน ได้แก่ อาจารย์ผู้มีส่วนได้เสียในโครงการ 5 คน และผู้เข้าร่วมโครงการ 20 คน เดินทางวันที่ 15 มิถุนายน 2567 เป็นเวลา 1 วันประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ จ.พิจิตร จ.นครสวรรค์ และ จ.ชัยนาท
3. หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามความเชื่อความศรัทธาเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนท้องถิ่น
Soft Power
จำนวน 1 หลักสูตร โดยได้รับการอภิปราย เพื่อส่งเสริม และพัฒนาจากผู้มีส่วนได้เสีย จำนวน 10 ท่าน ดังต่อไปนี้ 1.3.2.4.1 อาจารย์ประจำหลักสูตร 3 คน
4. วิทยากร 5 คน
5. ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบัน 2 คน
หลักการและเหตุผล
การส่งเสริมศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไม่ว่าจะเป็นด้านการส่งเสริมประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวชุมชน ด้านบุคลากรโดยเฉพาะเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้มีความตื่นรู้ในประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมท้องถิ่น ความภูมิใจและหวงแหนในความเป็นไทย เพิ่มความสามารถ ความรู้ ความเข้าใจ ในการวางแผนนำเที่ยว การจัดรายการนำเที่ยว และการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อเชื่อมโยงความเชื่อ ความศรัทธาของพระเบญจภาคีและพระเกจิอาจารย์ 4 รูป จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป
ผลที่ได้จากโครงการ
ยุวมัคคุเทศก์มีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักสูตรการท่องเที่ยวชุมชน และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการนำเที่ยวได้ รวมทั้งเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามความเชื่อความศรัทธาได้รับการประชาสัมพันธ์ และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ พร้อมทั้งช่วยสร้างความภาคภูมิใจ และส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี สำนึกรักษ์ท้องถิ่น ของคนในชุมชนจากการนำเสนอ สื่อการรับรู้ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา
Soft Power
และขยายผลไปสู่การสร้างเศรษฐกิจให้หมุนเวียนในชุมชนจากการท่องเที่ยว หรือด้านอื่นเสริมในชุมชน
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ