Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น กิจกรรมที่ 5 การส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น Soft power ตามประวัติศาสตร์ของพระเครื่องในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนท้องถิ่นเป้าหมายองค์เบญจภาคีแห่งพระเครื่อง

SDGs : 8 11

16-31 สิงหาคม 2567 คณะวิทยาการจัดการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์  พัฒนาอิทธิกุล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ติยะภรณ์ เหลืองพิพัฒน์


อาจารย์ธนิดา จอมยิ้ม

โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

กิจกรรมที่ 5 การส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น Soft power ตามประวัติศาสตร์ของพระเครื่องในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนท้องถิ่นเป้าหมายองค์เบญจภาคีแห่งพระเครื่อง

16-19 สิงหาคม 2567

23-24 สิงหาคม 2567

สถานที่

1. การอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น soff power ตามประวัติศาสตร์ของพระเครื่อง (พระเบญจภาคี) บนเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามความเชื่อความศรัทธาและเส้นทางเชื่อมโยงทั้ง 5 จังหวัด ได้แก่ จ.กำแพงเพชร จ.ลำพูน จ.พิษณุโลกกรุงเทพมหานคร และจ.สุพรรณบุรี

2. การอบรมเชิงปฏิบัติการการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น soft power ตามประวัติศาสตร์ของพระเครื่อง (พระเกจิอาจารย์) บนเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามความเชื่อความศรัทธาและเส้นทางเชื่อมโยงทั้ง 3 จังหวัด ได้แก่ จ.ชัยนาท จ.นครสวรรค์ และ จ.พิจิตร

3. การอภิปรายการสรุปผลการดำเนินงานการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น Soft Power ตามประวัติศาสตร์ของพระเครื่องในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเพื่อสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนท้องถิ่นเป้าหมายองค์เบญจภาคีแห่งพระเครื่อง ณ โรงแรมบ้านสวนรีสอร์ท อ.เมือง จ.นครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรมการอบรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น soft power ตามประวัติศาสตร์ของพระเครื่อง (พระเบญจภาคี) จำนวน 35 คน ได้แก่ วิทยากร 2 คน อาจารย์ผู้มีส่วนได้เสียในโครงการ 2 คน และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าอบรม 31 คน เดินทางวันที่ 16 - 19 สิงหาคม 2567 เป็นเวลา 4 วัน 3 คืน ประกอบด้วย 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ลำพูน จ.กำแพงเพชรจ.พิษณุโลก จ.สุพรรณบุรี และกรุงเทพมหานคร

2. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าอบรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น soft power ตาม

ประวัติศาสตร์ของพระเครื่อง (พระเกจิอาจารย์) จำนวน 35 คน ได้แก่ วิทยากร 2 คนอาจารย์ผู้มีส่วนได้เสียในโครงการ 2 คน และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าอบรม 31 คน เดินทางวันที่ 23 - 24 สิงหาคม 2567 เป็นเวลา 2 วัน 1 คืน ประกอบด้วย 3 จังหวัด ได้แก่ จ.พิจิตรจ.นครสวรรค์ และ จ.ชัยนาท

3. กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมการอภิปรายการสรุปผลการดำเนินงานการท่องเที่ยวของชุมชน ท้องถิ่น Soft Power ตามประวัติศาสตร์ของพระเครื่องในมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนท้องถิ่นเป้าหมายองค์เบญจภาคีแห่งพระเครื่องจำนวน 25 คน ดังต่อไปนี้

1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ 3 คน

2. วิทยากร 5 คน

3. ผู้ประกอบการและบุคลากรภาครัฐ - ภาคเอกชนในธุรกิจการท่องเที่ยวและ

บริการ 10 คน

4. ตัวแทนคณะครูและยุวมัคคุเทศก์ที่เข้าร่วมโครงการ 7 คน

หลักการและเหตุผล

กิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนจึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในการเข้าถึงองค์ประกอบการท่องเที่ยวทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ (1) การสร้างแรงจูงใจให้แก่นักท่องเที่ยว (2) การส่งเสริมการให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว (3) การจัด กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ให้แก่นักท่องเที่ยว (4) การบริการจัดการด้านที่พักแรมให้แก่นักท่องเที่ยวและ (5) การเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวด้วยข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศและการคมนาคม ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามความเชื่อความศรัทธาจากเส้นทางการท่องเที่ยว 2 เส้นทางและเส้นทางเชื่อมโยง คือ (1) เส้นทางการท่องเที่ยวพระเบญจภาคี ประกอบด้วย 5 พระเครื่องที่ถูกค้นพบใน 5 จังหวัด ได้แก่พระซุ้มกอ จ.กำแพงเพชร พระรอด จ.ลำพูน พระนางพญา จ.พิษณุโลก พระสมเด็จ กรุงเทพมหานคร และพระผง จ.สุพรรณบุรี (2) เส้นทางการท่องเที่ยวพระเกจิอาจารย์ 4 รูป แห่งภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ พระครูวิมล คุณากร (หลวงปู่ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท หลวงพ่อพรหม ถาวโร วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ และหลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน อ.โพทะเล จ.พิจิตร เป็นต้น

ผลที่ได้จากโครงการ

เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากเชิงพื้นที่ของชุมชน Soft Power ตามเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตามความเชื่อความศรัทธา (พระเบญจภาคีและพระเกจิอาจารย์) รวมทั้งบุคลากรด้านการ ท่องเที่ยวเกิดกระบวนการการเรียนรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ และสามารถนำความรู้จากการเข้าอบรมมา ถ่ายทอดและยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวชุมชนจากกิจกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น soft power ตามประวัติศาสตร์ของพระเครื่อง (พระเบญจภาคีและพระเกจิอาจารย์) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้คงอยู่ต่อไป