Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การเรียนการสอน
บริการวิชาการ
กิจกรรมการบูรณการบริการวิชาการกับการสร้างความรู้สู่ชุมชนด้วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
SDGs :
2
4 พฤศจิกายน 2566
คณะวิทยาการจัดการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรียานันท์ โพธิ์ศิรวัฒน์
ชื่อกิจกรรมการบูรณการบริการวิชาการกับการสร้างความรู้สู่ชุมชนด้วนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์และองค์การ
วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566
สถานที่
:
ณ ห้องประชุมแก้วเจ้าจอม อาคาร 10 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
บุคลากรภายนอก และบุคลากรที่สนใจทั่วไป เข้าร่วมอบรมในโครงการ จำนวน 35 คน
หลักการและเหตุผล
สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีหน้าที่ในการผลิตบัณฑิตทางด้านการบริหาร หรือเป็นผู้นำในการทำงานที่มีคุณภาพและคำนึงถึง สังคม ดังนั้นการเรียนการสอนจึงต้องจัดทั้งในด้านการถ่ายทอดความรู้และทักษะทางด้านการบริหารควบคู่กันโดยบูรณาการเข้ากับชุมชนและสิ่งแวดล้อม สำหรับทางด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์นั้น นอกจากหลักสูตรจะกำหนดให้เรียนรายวิชาอื่นจากสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณะวิทยาการจัดการแล้วยังกำหนดให้ต้องมีรายวิชาที่เรียนเพื่อเสริมและฝึกฝนให้นักศึกษามีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์มากยิ่ง ๆ ขึ้น และโดยเฉพาะในปัจจุบันการเรียนการสอนควรควบคู่ไปกับการทำกิจกรรม เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการเรียนและได้รับประสบการณ์ตรงในการทำกิจกรรม การวางแผน และสามารถการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จ จึงเห็นสมควรจัดทำโครงการบูรณาการการเรียนการสอน "บริการวิชาการกับ สังคมในรายวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ" นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความผูกพัน ความสามัคคี การเสียสละเพื่อส่วนรวม การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันในการร่วมกิจกรรม ดังนั้นจึงจำเป็นอย่าง ยิ่งที่จะต้องปลูกฝังในเรื่องการเป็นผู้นำที่เสียสละ มีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องและชัดเจนมีความคิด สร้างสรรค์กล้าแสดงออกในสิ่งที่ควร ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมและผู้อื่น โดยผ่านกิจกรรมการจัดโครงการบริการวิชาการ เพื่อบูรณาการความรู้ในห้องเรียนถ่ายทอดสู่ชุมชน ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้นักศึกษาได้แสดงออกถึงศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ และนอกจากนั้นยังได้ฝึกความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่ต้องการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่ง มีอาจารย์และนักศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อน
เพื่อให้นักศึกษาสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และการจัดการ ได้รับประสบการณ์ตรงในการทำ กิจกรรมต่าง ๆ จึงเห็นสมควรจัดทำการบริการความรู้สู่ชุมชนในด้านการพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้การทำงานประสบความสำเร็จ โครงการนี้จะทำให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ทราบปัญหาและสามารถการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และนอกจากนั้นยังได้ฝึกความ รับผิดชอบในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะเป็นประโยชนในการประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่ต้องการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งมีอาจารย์และนักศึกษาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อน
ผลที่ได้จากโครงการ
1. ผู้เข้าร่วมโครงการฯ อบรมได้เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ในแนวทางการพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจมีทักษะในการสร้างอาชีพ ขยายโอกาสทางด้านอาชีพ รวมทั้งนำความรู้ที่ได้รับการอบรมไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. นักศึกษาเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระด้วนตนเองตามสิ่งที่ตนเองสนใจในเชิงลึกและด้วยความร่วมมือและช่วยเหลือจากเพื่อน ๆ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการจัดการเกี่ยวกับเวลาและการจัดการโครงงาน ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะการประสานสัมพันธ์ทักษะความคิด ทักษะการแสวงหาความรู้ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ