Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

กิจกรรมบูรณาการความรู้สู่ชุมชนด้วยความฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและบริการ

SDGs : 2

6 สิงหาคม 2567 คณะวิทยาการจัดการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ : อ.เจนจิรา  เงินจันทร์, ผศ.ลาวรรณ เหมพิจิตร

 
กิจกรรมบูรณาการความรู้สู่ชุมชนด้วยความฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและบริการ

 
วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2567

 
ณ อโรคะยาศาล บ้านหาดเสลา ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์

 
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

1. ชาวบ้านในชุมชนตำบลเขาดิน จำนวน 25 คน

2. นักศึกษา ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ จำนวน 15 คน

 
หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีพันธกิจในการบริการทางวิชาการที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม โดยมีการให้บริการทางด้านการศึกษาตามความต้องการ ของท้องถิ่นและให้บริการฝึกอบรมถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีตามความต้องการให้แก่สังคมอันเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยฯ ประกอบกับการที่ตำบลเขาดินตั้งอยู่ในพื้นที่ อันมีแหล่งทรัพยากรทางการท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์ จึงนำบริบทชุมชนที่มีมาบูรณาการให้เกิดแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนโดยใช้บริบทสภาพแวดล้อม ประวัติศาสตร์ ทรัพยากร และภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในการส่งเสริมให้กับบุคลากร และชาวบ้านในท้องถิ่น ให้เกิดทักษะความรู้ความเข้าใจในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของตำบล และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับการบริหาร จัดการทรัพยากรชุมชน อันจะนำไปสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจ และเกิดอาชีพให้กับเยาวชนและชุมชน อีกทั้ง ยังเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ ทรัพยากรให้เกิดการสืบทอดต่อไป และเพื่อให้โครงการประสบความสำเร็จสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ จึงได้มีการทำงานที่ประสานความร่วมมือระหว่างกันระหว่างสาขาวิชาฯและ ชุมชน ในการเข้ามามีส่วนร่วม ให้ชุมชนและเยาวชนได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และรักถิ่นฐาน

ในการนี้สาขาการท่องเที่ยวและบริการ คณะวิทยาการจัดการ จึงได้มีโครงการบริการวิชาการ คณะ วิทยาการจัดการ กิจกรรมบูรณาการความรู้สู่ชุมชนด้วยการฝึกอบรมและการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวและบริการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวให้กับเยาวชน สู่การพัฒนาเป็น บุคลากรด้านการท่องเที่ยว อันจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวและบริการของชุมชนและจังหวัด ต่อไป

 
ผลที่ได้จากโครงการ

1. ประชาชนและเยาวชน มีทัศนคติและการเจ้าบ้านที่ดี

2. นักศึกษาสาขาวิชาการท่องเที่ยวและบริการ สามารถใช้ความรู้และทักษะในถ่ายทอดองค์ความรู้ด้นการท่องเที่ยวและบริการสู่ชุมชน