Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

การอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ 6 กิจกรรมสนับสนุน 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช 2566 ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย”

SDGs : 1 2 4 8 11 17

22 ธันวาคม 2566 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการสืบสานและสร้างสรรค์เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น


กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ 6
กิจกรรมสนับสนุน 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ประจำปีพุทธศักราช 2566
ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์
ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย”

          วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มอบหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพร พรหมมาศ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ทำหน้าที่ประธานในพิธีเปิด “โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น: กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ถอดองค์ความรู้แบบไทย-ไท ปีที่ 6 ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากราย” กิจกรรมสนับสนุน 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ณ หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัศนีพร วิศาลสุวรรณกร รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม และมีรองศาสตราจารย์ ดร.ทินพันธุ์ เนตรแพ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ดร.พิมรา ทองแสง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยรัตน์ โพธิ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมพิธีฯ
          
          กิจกรรมในงาน ได้แก่ การกล่าวถึงความสำคัญและการพิจารณาสรรหาเพื่อคัดเลือกรายการอาหารให้เป็น 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ตามประกาศของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม โดยว่าที่ร้อยตรี สมเกียรติ เกตุฟัก ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์, การอภิปรายแบบเสวนา เรื่อง “ปลาเห็ด : ทอดมันปลากรายนครสวรรค์” โดยวิทยากร นางวาสนา พูลเพิ่ม ร้านป้าเฮียะทอดมันปลากราย และ การถ่ายทอดองค์ความรู้และขั้นตอนต่าง ๆ ในการใช้วัสดุอุปกรณ์ และการจัดเตรียมส่วนผสมและวัตถุดิบ โดยวิทยากร อาจารย์นารีรัตน์ บุญลักษณ์ และคณะ จากสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
          ผลที่ได้รับจากการจัดโครงการในครั้งนี้ ได้แก่
                    1. กลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชน นักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป ได้เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้อง  ถิ่น ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการรูปแบบหลักสูตรระยะสั้น และใช้เวลาว่างก่อให้เกิดประโยชน์ 
                    2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำงานแบบบูรณาการอย่างมีระบบ เป็นการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ เกิดการสร้างเครือข่าย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้    ประสบการณ์ในรูปแบบผสมผสานงานทางด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
                    3. หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่รู้จักด้านศูนย์กลางการเรียนรู้ ที่ให้การบริการ สนับสนุน และส่งเสริมงานด้านศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต และ
ภูมิปัญญา ท้องถิ่น


          ลิงก์ข่าว : https://www.facebook.com/share/p/1BRmz4TUmM/