Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
การอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ 6 ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
SDGs :
4
5
11
17
31 มกราคม 2567
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการสืบสานและสร้างสรรค์เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
กิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ 6
ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์
วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 เวลา 09.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มอบหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพร พรหมมาศ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ทำหน้าที่ประธานในพิธีเปิด การอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ 6 ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์ โครงการสืบสานและสร้างสรรค์ เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
เวลา 18.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นประธานในพิธีเปิด กิจกรรมศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์ โครงการสืบสานและสร้างสรรค์ เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น การอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ 6 ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่องศิลปะการแสดง : สืบสาน ลานศิลป์ ถิ่นสวรรค์ ณ เวทีกลางแจ้ง ลานด้านหน้าอาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
กิจกรรมภายในงาน ได้แก่
การแสดงนาฏศิลป์ไทย : วัฒนธรรมถิ่นสวรรค์ จากโรงเรียนเครือข่ายวัฒนธรรมในนครสวรรค์
การแสดงชุดที่ 1 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
การแสดงชุดที่ 2 จากโรงเรียนนครสวรรค์
การแสดงชุดที่ 3 จากโรงเรียนสตรีนครสวรรค์
การแสดงชุดที่ 4 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ)
การแสดงชุดที่ 5 จากโรงเรียนไพศาลีพิทยา
การแสดงชุดที่ 6 จากโรงเรียนลาดยาววิทยาคม
ผลที่ได้รับจากการจัดโครงการในครั้งนี้
ได้แก่
1. กลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชน นักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป ได้เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านหลักสูตรระยะสั้น ใช้เวลาว่างก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างผลงานด้านศิลปะการแสดง
2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำงานแบบบูรณาการอย่างมีระบบ เป็นการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในรูปแบบผสมผสานงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
3. หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่รู้จักด้านศูนย์กลางการเรียนรู้ ที่ให้การบริการ สนับสนุนและส่งเสริมงานด้านศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ลิงก์ข่าว :
https://www.facebook.com/share/p/1A65pwPLZm/
https://www.facebook.com/share/p/1Gxar6quR4/
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม