Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
การแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)
SDGs :
4
11
17
14 พฤศจิกายน 2565 - 7 ธันวาคม 2565
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย
และอัจฉริยะภาพด้านดนตรี
กิจกรรมการแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)
พื้นที่ดำเนินการ
รูปแบบออนไลน์
งบประมาณโครงการ
30,200 บาท
วันที่ดำเนินงาน
14 พฤศจิกายน – 7 ธันวาคม พ.ศ. 2565
หลักการและเหตุผล
นิทานพื้นบ้าน เป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อกันมา จนถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ส่วนมากจะถ่ายทอดด้วยวิธีมุขปาฐะ โดยใช้ถ้อยคำธรรมดาที่เข้าใจง่ายจากความทรงจำของผู้เล่า จึงไม่ทราบที่มาที่แน่ชัดนิทานพื้นบ้านประจำถิ่นจึงมีความเกี่ยวพันต่อการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งนิทานที่เล่าสืบทอดกันมาแต่อดีตกาล เชื่อกันว่าเกิดขึ้นจริง มีสถานที่ในเรื่องราวของนิทานปรากฏจริงในยุคปัจจุบัน หรือมิเช่นนั้นผู้สูงอายุในท้องถิ่นจำนวนมากได้รับการบอกเล่าสืบทอดกันมาในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่จนกลายเป็นนิทานประจำท้องถิ่นโดยปริยาย
ทั้งนี้ นิทานพื้นบ้านหลายเรื่องมี
เนื้อหาที่อธิบายสภาพสังคมและ วัฒนธรรม รวมถึงสภาพภูมิศาสตร์ของท้องถิ่น นอกจากนี้เนื้อหาและโครงสร้างของนิทานหลายเรื่องยังมีความเหมาะสม กับวัยของเยาวชนในระดับการศึกษาต่าง ๆ โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา การเล่านิทานพื้นบ้านของเยาวชนจึงถือเป็นการเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นโดยอ้อม ผ่านทางอรรถรสของวรรณคดี เพราะนิทานพื้นบ้านถือเป็นวรรณคดีพื้นบ้านประเภทหนึ่ง
ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่นิทานพื้นบ้านสู่เยาวชนในรูปแบบการส่งเสริมการอ่านและการเล่าจากการอ่านในรูปแบบกิจกรรมการประกวดการเล่านิทานพื้นบ้าน นับเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องวรรณคดีพื้นบ้านที่จะเกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษาในท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์ และสอดคล้องกับการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้เรื่องของท้องถิ่น รวมทั้งเป็นการดำเนินการตามพันธกิจของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมในการสืบสาน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย, ส่งเสริมการเรียนรู้และการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมไปถึงการสร้างภาคีเครือข่ายในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ว่า “มหาวิทยาลัยที่เป็นพลังของแผ่นดินในการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล” สำนักศิลปะและวัฒนธรรม จึงจัดโครงการบริหารจัดการ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม และหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ กิจกรรมการแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์
(นิทานประจำถิ่น)
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้แก่นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
2. เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้แก่นักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
3. เพื่อฟื้นฟู อนุรักษ์ และเผยแพร่นิทานพื้นบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์
4. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการพูดและศิลปะการใช้ภาษาให้แก่นักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผลผลิต (Output)
1.
เวทีการประกวดเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ของจังหวัดนครสวรรค์ ได้มีพื้นที่ในการแสดงผลงานด้านการเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์
2. เยาวชนต้นแบบที่ได้รับรางวัลจากการประกวดเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ ดังนี้
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
1)
ชนะเลิศ เด็กชายรัฐพงษ์ รักษา โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม
2)
รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง เด็กหญิงณัฐณิชา อ่อนมี โรงเรียนลาดยาววิทยาคม
3)
รองชนะเลิศอันดับสอง เด็กหญิงณิชาภัทร วงวิภาค โรงเรียนนครสวรรค์
4)
ชมเชย เด็กชายปองคุณ ภมรพิบูลย์ โรงเรียนโพฒิสารศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
1)
ชนะเลิศ นายวิชชากร สิทธิไกร โรงเรียนลาดยาววิทยาคม
2)
รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง นางสาวสิราวรรณ ศรีบรรเทา โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
3)
รองชนะเลิศอันดับสอง นายศักดิ์ดา เกตุรัตน์ โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม
4)
ชมเชย นายรพีภัทร ชื่นสุวรรณ์ โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต
เพื่อส่งเสริมคุณค่าด้านศิลปะและวัฒนธรรมในตัวบุคคล
3.
สถาบันการศึกษามีส่วนร่วมในการสนับสนุนนักเรียน ในการพัฒนาศักยภาพด้านการเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์
ผลลัพธ์ (Outcome)
1. มีการพัฒนาความรู้และทักษะด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับเยาวชน นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป เพื่อให้เกิดการสืบสานและสืบทอดทางวัฒนธรรมอย่างรู้คุณค่า
2.
มีการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอน เพื่อให้เยาวชนเกิดภาคภูมิใจในความเป็นไท และรักษ์ท้องถิ่น
ผลกระทบ (Impact)
1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการพูดและศิลปะการใช้ภาษาให้แก่นักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมถึงสร้างจิตสำนึกในการสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพร พรหมมาศ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม