Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

การเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช 2567

SDGs : 11 17

20 มีนาคม 2567 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการสืบสานและสร้างสรรค์เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น


กิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์

          วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติ “ศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช 2567” ณ ห้องพระบาง อาคาร 15 ชั้น 4 สำหรับศิลปินที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ “ศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช 2567” มีดังนี้
          1. สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ นายกาศ กล่ำน้อย และนายประจวบ ฟักผล
          2. สาขาศิลปะการแสดง ได้แก่ นายคำดี ขุนดารา, นายกิตติศักดิ์ แสงจันทร์ และนายมนตรี เผือกจีน
          3. สาขาเยาวชนผู้สืบสานศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ วงโปงลางแม่เปิน โรงเรียนอนุบาลแม่เปิน (บ้านตลุกตาสาม) และนางสาวกุลนิภา สายนาค
          ในพิธีเชิดชูเกียรติได้มีการแสดงโขน ตอนหนุมานจับนางสุพรรณมัจฉา กำกับการแสดง และบรรเลงดนตรีไทยประกอบการแสดงโดย ครูกิตติศักดิ์ แสงจันทร์ ศิลปินถิ่นสวรรค์ สาขาศิลปะการแสดง ประจำปีพุทธศักราช 2567
          ผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย รองอธิการบดี, ผู้ช่วยอธิการบดี, คณบดีคณะครุศาสตร์, คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, คณบดีคณะวิทยาการจัดการ, คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา, ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำสำนักศิลปะและวัฒนธรรม, ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครสวรรค์, คณะกรรมการส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย, ผู้แทนวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์, รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, ตัวแทนนายกสโมสรอาจารย์และข้าราชการพลเรือน และหัวหน้าสาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมทั้งศิลปินแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา และศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช 2565 และ 2566 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2565 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) และสร้างระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรมเชิงพื้นที่/ เป้าประสงค์ที่ 1. มีการใช้ประโยชน์จากวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) แก่สังคมท้องถิ่น/ กลยุทธ์ที่ 3. ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ในชุมชนท้องถิ่น
          ผลที่ได้รับจากการจัดโครงการในครั้งนี้  ได้แก่
                    1. รวบรวมประวัติ องค์ความรู้ และเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน
                    2. ได้องค์ความรู้การสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน 
                    3. ร่วมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ผลงานเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรม

          ลิงก์ข่าว : https://www.facebook.com/share/p/16MU2MRaox/