Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
การประกวดแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)
SDGs :
4
5
11
17
21 มีนาคม 2567
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการสืบสานและสร้างสรรค์เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
กิจกรรม
การประกวดแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น)
วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี เป็นประธานในพิธีถวายราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติและถวายชัยมงคล เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปีพุทธศักราช 2567 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมี รองอธิการบดี, ผู้ช่วยอธิการบดี, คณบดี, ผู้อำนวยการสำนัก, ผู้อำนวยการสถาบัน, ผู้แทนวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์, ผู้อำนวยการโรงเรียนในจังหวัดนครสวรรค์, รองคณบดี,
รองผู้อำนวยการสำนัก, คณาจารย์, บุคลากร, นักศึกษา, นักเรียน เข้าร่วมพิธีโดยพร้อมเพรียงกัน
ทั้งนี้ ได้มีพิธีมอบรางวัลและเกียรติบัตรให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม การประกวดแข่งขันเล่านิทานพื้นบ้านนครสวรรค์ (นิทานประจำถิ่น) ได้แก่
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
รางวัลชนะเลิศ :
เด็กหญิงพิชานันท์
ทองอยู่
โรงเรียนลาดยาววิทยาคม (นิทานเรื่อง
ดงแม่นางเมือง)
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 :
เด็กชายรัฐพงษ์
รักษา
โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม (นิทานเรื่อง
โบสถ์เทวดาสร้าง)
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 :
เด็กชายพีรพัฒน์
จำปาทิพย์
โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
(นิทานเรื่อง
โบสถ์เทวดาสร้าง)
รางวัลชมเชย :
เด็กหญิงณัฏฐ์ชญา
สีสวาด.
โรงเรียนลาดยาววิทยาคม (นิทานเรื่อง
วัดเขาแก้ว)
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
รางวัลชนะเลิศ :
นางสาววชิรญาณ์ สวนแจ้ง
โรงเรียนลาดยาววิทยาคม (นิทานเรื่อง
ดงแม่นางเมือง)
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 :
นายกฤษณะ ดิษฐประยูร
โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
(นิทานเรื่อง
โกรกพระ
)
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 :
นายศักดิ์ดา เกตุรัตน์
โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม
(นิทานเรื่อง
โกรกพระ
)
รางวัลชมเชย :
นางสาวณัฐกฤตา ก้อนจันทร์เทศ
โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์
(นิทานเรื่อง
วัดเขาแก้ว)
ผลที่ได้รับจากการจัดโครงการในครั้งนี้
ได้แก่
1. นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจิตสำนึกในการสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
2. นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
3. นิทานพื้นบ้านภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับการฟื้นฟู อนุรักษ์ และเผยแพร่
4. นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการพูดและศิลปะการใช้ภาษา
5. มีการสร้างภาคีเครือข่ายในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระหว่างสำนักศิลปะและวัฒนธรรม กับ สถานศึกษาในท้องถิ่น
ลิงก์ข่าว :
https://www.facebook.com/share/p/1Gk9fJctMu/
https://www.facebook.com/share/p/1ACcXmZRii/
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม