Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
การอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย - ไท ปีที่ 7 : สนับสนุน 1 จังหวัด 1 เมนูเชิดชูอาหารถิ่น ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ ของชาวนครสวรรค์ว่าด้วยเรื่อง “แกงนอกหม้อ”
SDGs :
1
2
4
8
11
17
19 ธันวาคม 2567
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการ
เพิ่มศักยภาพชุมชน
Soft Power
บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
กิจกรรมสืบสานและสร้างสรรค์ เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
การอบรมเชิงปฏิบัติการถอดองค์ความรู้แบบไทย - ไท ปีที่ 7
:
สนับสนุน 1
จังหวัด 1 เมนูเชิดชูอาหารถิ่น ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์
ว่าด้วยเรื่อง “แกงนอกหม้อ”
วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มอบหมายผู้ช่วยศาสตราจารย์แวววัน ชมพูนุท ณ อยุธยา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ทำหน้าที่ประธานในพิธีเปิด กิจกรรมถอดองค์ความรู้แบบไทย-ไท ปีที่ 7 : สนับสนุน 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ชุดองค์ความรู้วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่อง “แกงนอกหม้อ” ณ หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล
ศัยยกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
กิจกรรมภายในงาน ได้แก่
- การกล่าวถึงความสำคัญและการพิจารณาสรรหา เพื่อคัดเลือกรายการอาหารให้เป็น 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ตามประกาศของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม โดยว่าที่ร้อยตรี สมเกียรติ เกตุฟัก ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
- การอภิปรายแบบเสวนา เรื่อง “แกงนอกหม้อ” โดยวิทยากร นางน้ำใจ รังผึ้ง นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
- การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิคขั้นตอนต่าง ๆ ในการใช้วัสดุอุปกรณ์, การจัดเตรียมส่วนผสมและวัตถุดิบ และขั้นตอนการประกอบอาหาร โดยวิทยากร นางสาวรัชนี เชาว์ปรีชา และนางจำรัส จันทราม ปราชญ์ชาวบ้าน
ผลที่ได้รับจากการจัดโครงการในครั้งนี้
ได้แก่
1. กลุ่มบุคลากร ครู-อาจารย์ กลุ่มเยาวชน นักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไปได้เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ่านหลักสูตรระยะสั้น และใช้เวลาว่างก่อให้เกิดประโยชน์
2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกในการทำงานแบบบูรณาการอย่างมีระบบขั้นตอน เป็นการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในรูปแบบผสมผสานงานด้านศิลปวัฒนธรรมไทย
3. หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่รู้จักด้านศูนย์กลางการเรียนรู้ ที่ให้การบริการ สนับสนุนและส่งเสริมงานด้านศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ลิงก์ข่าว :
https://www.facebook.com/share/p/1Qa5awCmfY/
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม