Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

การสืบสานวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์ เนื่องในโอกาสเทศกาลตรุษจีน 2566 : การสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์

SDGs : 4 11 17

14 มกราคม 2566 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย

และอัจฉริยะภาพด้านดนตรี


กิจกรรมการสืบสานวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์ เนื่องในโอกาสเทศกาลตรุษจีน 2566
: การสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์

พื้นที่ดำเนินการ บริเวณลานเวทีกลาง ลานมังกรทอง อุทยานสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
งบประมาณโครงการ 180,000 บาท
วันที่ดำเนินงาน 14 มกราคม พ.ศ. 2566
หลักการและเหตุผล
           จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ทำให้ทราบว่านครสวรรค์เป็นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่งพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนเมืองในช่วงสมัยประวัติศาสตร์ และมีความเจริญมากขึ้นเป็นลำดับ อีกทั้ง การขยายตัวทางเศรษฐกิจของจังหวัดนครสวรรค์ ทำให้มีชาวต่างชาติหลั่งไหลกันเข้ามาประกอบการค้าและตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดนครสวรรค์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวจีนที่กลายเป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของนครสวรรค์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
           ประวัติศาสตร์การอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในนครสวรรค์นั้น เป็นเรื่องราวที่สะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้และวิถีชีวิตของชุมชนชาวจีนทุกกลุ่มภาษา ทั้งชาวจีนอพยพและชาวจีนที่เกิดในนครสวรรค์ ชาวจีนเหล่านี้มีความขยันขันแข็ง มัธยัสถ์ และมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมของไทยเป็นอย่างดี จึงสามารถเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจของนครสวรรค์ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เมื่อชาวจีนเดินทางเข้ามาอาศัยอยู่ในนครสวรรค์มากขึ้นจนกลายเป็นชุมชนชาวจีนนั้น ก็มักจะมีการสร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้แก่ชาวจีนในชุมชนของตน ทั้งนี้ ความเชื่อ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวจีนที่เข้ามาในนครสวรรค์นั้น ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นการผสมกลมกลืนกันทางวัฒนธรรม ระหว่างไทยและจีนที่มีมานานหลายทศวรรษ ส่งผลให้ชุมชนชาวจีนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมนครสวรรค์ไปในที่สุด
           ปัจจุบันกลุ่มชาติพันธุ์ไทย - จีนในนครสวรรค์กระจายอยู่ในอำเภอต่าง ๆ ของจังหวัดนครสวรรค์ โดยดำเนินชีวิตที่ผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตแบบไทย อีกทั้งยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ งานเทศกาลตรุษจีน ซึ่งชาวไทยเชื้อสายจีนร่วมกับชาวไทยในปากน้ำโพจัดให้มีขึ้น จนทำให้ “ประเพณีแห่เจ้าพ่อ – เจ้าแม่ปากน้ำโพ” เป็นประเพณีท้องถิ่นของนครสวรรค์ที่มีชื่อเสียงและดึงดูดให้ผู้คนจากทั่วประเทศเดินทางมาร่วมงานในประเพณีนี้เป็นประจำทุกปี
           ในงาน “ประเพณีแห่เจ้าพ่อ – เจ้าแม่ปากน้ำโพ” ดังกล่าว จะมีการอัญเชิญเจ้าพ่อ – เจ้าแม่ ที่อยู่ในศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม และศาลเจ้าแม่หน้าผา มาแห่รอบตลาดเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัวของชาวตลาดปากน้ำโพเป็นประจำทุกปี โดยจัดขึ้นในวันขึ้น 1 ค่ำเดือนหนึ่งของจีน ในช่วงเทศกาลตรุษจีน จนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมากกว่า 100 ปี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและขอบคุณต่อเทพเจ้า อันจะเป็นการสร้างความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต และเพื่อความเจริญก้าวหน้าในด้านการค้าของตน
ยิ่งไปกว่านั้น ใน พ.ศ. 2561 "ประเพณีการแห่เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ปากน้ำโพ" ได้ถูกขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2561 โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561 ซึ่งได้พิจารณาและเห็นชอบประกาศขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี 2561 เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครองมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ ทั้งนี้ งานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ จัดอยู่ในลักษณะมรดกภูมปัญญาทางวัฒนธรรมด้านการปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม  ประเพณี  และเทศกาล โดยมีประกาศกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เรื่อง การขึ้นบัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2561 ใน   ราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 135 ตอนพิเศษ 149 ง วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2561
           สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดูแลด้านการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิต และคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงามของไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมจีนในสังคมนครสวรรค์ จึงได้จัดกิจกรรม “การสืบสานวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์ เนื่องในโอกาสเทศกาลตรุษจีน 2566 : การสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์” ขึ้น เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีการแห่เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ปากน้ำโพ” ซึ่งจะเป็นประโยชน์ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนในนครสวรรค์ให้คงอยู่ไปยังคนรุ่นหลังสืบต่อไป

วัตถุประสงค์
           1. เพื่อให้ชาวนครสวรรค์และบุคคลทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรมจีนของนครสวรรค์ และสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับผู้อื่นรับรู้ได้อย่างถูกต้อง
           2. เพื่อให้ชาวนครสวรรค์และบุคคลทั่วไป เกิดความตระหนักรู้และเห็นความสำคัญของประเพณี และวัฒนธรรมจีนที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมของนครสวรรค์
           3. เพื่อให้ชาวนครสวรรค์และบุคคลทั่วไป มีจิตสำนึกร่วมกันในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และสืบสานวัฒนธรรมจีน จนเกิดการยอมรับในความเป็นพหุสังคมของนครสวรรค์ร่วมกัน
           4. เพื่อสร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์วัฒนธรรมจีนร่วมกับหน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนของจังหวัดนครสวรรค์

ผลผลิต (Output)
           1. เวทีการแสดงสืบสานวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์เนื่องในโอกาสเทศกาลตรุษจีน 2566 จำนวน 6 กิจกรรม ดังนี้
                      1) การเสวนา เรื่อง “เรื่องเล่าชาวจีนปากน้ำโพ”
                      2) การบรรเลงและขับร้องบทเพลงไทย-จีน “จากอดีตสู่ความร่วมสมัย สานสัมพันธ์วัฒนธรรมไทย-จีน”
                      3) การแสดงนาฏยจีน: ศรัทธาพาสานหัวใจไทย-จีน
                      4) การแสดงสิงโตกว๋องสิว: อำนวยอวยพร ต้อนรับตรุษจีนปีเถาะ 2566
                      5) การระบายสีเปเปอร์มาเช่ และปูนพลาสเตอร์ รูปหน้าเอ็งกอ
                      6) นิทรรศการ “วัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์”
           2. สถาบันการศึกษามีส่วนร่วมในการสนับสนุนนักเรียน นักศึกษาในการพัฒนาศักยภาพด้านการสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจีนในนครสวรรค์

ผลลัพธ์ (Outcome)
           1. มีการพัฒนาความรู้และทักษะด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับเยาวชน นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป  เพื่อให้เกิดการสืบสานและสืบทอดทางวัฒนธรรมอย่างรู้คุณค่า
           2. มีการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอนและการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดภาคภูมิใจในความเป็นไท และรักษ์ท้องถิ่น

ผลกระทบ (Impact)
           1. ชาวนครสวรรค์และบุคคลทั่วไป มีจิตสำนึกร่วมกันในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และสืบสานวัฒนธรรมจีน จนเกิดการยอมรับในความเป็นพหุสังคมของนครสวรรค์ร่วมกัน

ผู้รับผิดชอบโครงการ
รองศาสตราจารย์พรรษประเวศ อชิโนบุญวัฒน์       รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
นางสาวชัญภร สาทประสิทธิ์                                   หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

Project to enhance the value and preserve the local culture in order to revive the arts, culture, and the essence of being Thai, and to promote the intelligent music image.


Cultural heritage conservation activities in Nakhon Sawan, in celebration of the Chinese New Year 2023.


From historical and archaeological evidence, it is known that Nakhon Sawan has been a human settlement since prehistoric times, developing into an urban community in historical times, and thriving as time passed. Additionally, the economic expansion of Nakhon Sawan province attracted foreigners to come for trade and establish bases in the province in large numbers, especially the Chinese who became a significant group contributing to the rapid growth of Nakhon Sawan's economy.


 
The history of Chinese immigrants establishing their base in Nakhon Sawan reflects the struggles and way of life of all Chinese language groups. These Chinese immigrants and those born in Nakhon Sawan are hardworking, disciplined, and able to adapt well to Thai society, thus being able to continuously contribute to the economy of Nakhon Sawan. Moreover, as more Chinese people settled in Nakhon Sawan and formed Chinese communities, they would often build shrines to serve as a place to anchor the minds of the Chinese in their community. The beliefs, culture, and way of life of Chinese people coming to Nakhon Sawan have continually intertwined with Thai culture over many decades, resulting in the Chinese community becoming an integral part of Nakhon Sawan society.


 
Currently, Thai-Chinese ethnic groups in Nakhon Sawan are spread across various districts of the province, living a life that blends with Thai culture while maintaining their own traditions very well. Particularly, the celebration of the Chinese New Year, where Thai people of Chinese descent and Thais in the vicinity of Pak Nam Pho come together to hold the "Procession of the River God and River Goddess" festival, which has become a well-known local tradition in Nakhon Sawan, attracting people from all over the country to participate in this event every year.


The ceremony of "Procession of the God and Goddess at Paknampho" will involve inviting the God and Goddess from the shrine of Theppharak and Thapthim, as well as the shrine of Napha Napa, to parade around the market for the prosperity and well-being of the people of Paknampho market and their families. This tradition is held every year on the first night of the first Chinese lunar month during the Chinese New Year festival, and has been passed down for over 100 years. It is a way to show respect and gratitude to the deities, to bring blessings to life, and to enhance prosperity in trade.


 
Furthermore, in the year 2018, the "Procession of the God and Goddess at Paknampho" was registered as a cultural heritage in the Thai cultural heritage list for the year 2018. This was approved by the Committee for the Promotion and Preservation of Cultural Heritage on March 22, 2018, to protect the cultural heritage of the local and national level. The procession is considered a cultural heritage in terms of societal practices, ceremonies, and festivals, and was officially announced in the Royal Gazette on June 27, 2018.


 
The Office of Arts and Culture of Nakhon Sawan Rajabhat University, as the main unit responsible for the preservation and promotion of Thai arts, culture, traditions, way of life, and moral ethics, recognizes the importance of Chinese culture in Nakhon Sawan society. Therefore, they organized the event "Reviving Chinese Culture in Nakhon Sawan, on the occasion of the Chinese New Year festival 2018", to uphold and promote Chinese arts and culture in Nakhon Sawan. This event aims to contribute to the conservation of culture among Thai-Chinese descendants in Nakhon Sawan for future generations.