Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น “ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ”
SDGs :
1
4
8
9
11
16 มกราคม 2568
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการ
เพิ่มศักยภาพชุมชน
Soft Power
บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
กิจกรรม
การอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
“ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ”
วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มอบหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล ศัยยกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ทำหน้าที่ประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น กิจกรรม : การอบรมเชิงปฏิบัติการสรรค์สร้างงานผลิตภัณฑ์จากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น “ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ” ณ พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ตำบลบ้านแก่ง
อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์นัฐท์ธีรนนช์ รอดชื่น รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์การพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
กิจกรรมภายในงาน ได้แก่
- การบรรยายเรื่องรูปแบบ กระบวนการผลิตและแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ที่สื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรมไทย วิทยากรโดยนายเอกลักษณ์ กษมากรณ์ ผู้ช่วยนักพัฒนาการท่องเที่ยว องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก่ง
- การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือและกระบวนการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ, การตกแต่งชิ้นงานและการเก็บรายละเอียด และ การทำสีและขั้นตอนกระบวนการเผาชิ้นงาน วิทยากรโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์รพีพัฒน์ มั่นพรม อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และนายเอกลักษณ์ กษมากรณ์
ทั้งนี้กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ นครสวรรค์ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้ได้รับรางวัลศิลปินถิ่นสวรรค์ สาขาช่างฝีมือ ประจำปีพุทธศักราช 2566 จัดโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และขณะนี้ได้มีมติพิจารณาคัดเลือกเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ สาขางานช่างฝีมือดั้งเดิม เพื่อยื่นขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ โดยนางสาวนุชรินทร์ภัทร์ ธีระบุญยะ วัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ และนายพันศักดิ์ ศรีทอง ประธานสภาวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่ได้รับจากการจัดโครงการในครั้งนี้
ได้แก่
1. ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการมีความรู้ความเข้าใจรูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ และแนวทางการพัฒนารูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
2. ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการสามารถนำความรู้ไปประยุกต์สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เพื่อนำไปทำเป็นต้นแบบและต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้
ลิงก์ข่าว :
https://www.facebook.com/share/p/14TSXM6aPJ/
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม