Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
การถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ ๕ ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ข้าวโปงและข้าวเม่าทอด : วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์”
SDGs :
1
4
11
17
20 มกราคม 2566
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย
และอัจฉริยะภาพด้านดนตรี
กิจกรรมการถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ 5 ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ
“ข้าวโปงและข้าวเม่าทอด : วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์”
พื้นที่ดำเนินการ
ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร
อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
งบประมาณโครงการ
5
0,000 บาท
วันที่ดำเนินงาน
20 มกราคม พ.ศ. 2566
หลักการและเหตุผล
ตามบทบาทพันธกิจหลักของหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์นั้น เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์ ทำหน้าที่ในการทำนุบำรุง ส่งเสริมและเผยแพร่งานด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาประจำท้องถิ่น
ซึ่งหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ข้าวโปงและข้าวเม่าทอด : วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์” เป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทางศิลปวัฒนธรรมและมรดกไทย ที่หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2562 มีการกำหนดนโยบายแนวคิดจากคณะผู้บริหารเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เป็นไปตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจของหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ สำหรับเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้งานด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้ง การเผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นมรดกของไทย ก่อให้เกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบทอดองค์ความรู้ให้คงอยู่คู่ความเป็นวิถีไทยสืบไป
ทั้งนี้
กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ข้าวโปงและข้าวเม่าทอด : วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์” ที่จัดขึ้น
ในครั้งนี้เป็นการถอดองค์ความรู้แบบไทย-ไท ปีที่ 5 ที่มุ่งให้ความสำคัญกับ
การสืบสานและถ่ายทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยยึดรูปแบบวิถีชีวิตของมนุษย์เป็นหลักสำคัญ เชื่อมโยงกับ
การรักษาความสมดุลในมิติความสัมพันธ์ 3 ด้าน กล่าวคือ 1) ความสัมพันธ์กับสังคมคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนและชุมชน 2) ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ และป่าไม้ และ 3) ความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ เป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่สามารถพิสูจน์ได้ ทั้งนี้ การถ่ายทอดและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยที่มีการประยุกต์อย่างสร้างสรรค์และมีระบบขั้นตอนที่ชัดเจน
จะเป็นตัวเชื่อมโยงประสบการณ์ ความรู้ ความถนัด และความสามารถที่มีอยู่เดิมในแต่ละบุคคลนำไปสู่การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องใหม่นับเป็นการบริหารจัดการเชิงวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม
อีกทั้ง ยังเป็นการจัดกลุ่มเยาวชน ทั้งเด็กนักเรียน-นักศึกษา ให้ถูกพัฒนาคุณภาพในด้านต่าง ๆ จนเกิดเป็นความรู้และความสามารถเฉพาะตัว
นอกจากนี้ กิจกรรมการถอดองค์ความรู้แบบไทย – ไท ปีที่ 5 ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “ข้าวโปงและข้าวเม่าทอด : วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์” ครั้งนี้ เป็นการบูรณาการนำศาสตร์ด้านวิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์ ว่าด้วยเรื่องข้าวโปงและข้าวเม่าทอด ซึ่งเป็นเมนูขนมหวานของไทยชนิดแบบแห้งที่มีข้าวเหนียวและข้าวเจ้าเป็นส่วนประกอบสำคัญ นำมาสู่กระบวนการถ่ายทอดความรู้เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทางงานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้
และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่หรือผู้สนใจได้สืบสานต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “ถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ 5 ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ข้าวโปงและข้าวเม่าทอด : วิถีศิลป์การกินอยู่ของชาวนครสวรรค์” ในรูปแบบหลักสูตรระยะสั้น
2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากวิทยากรหรือปราชญ์ท้องถิ่น ในงานด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้คนรุ่นหลังหรือผู้สนใจได้สืบสานเป็นมรดกที่สืบทอดต่อกันไป
3. เพื่อต่อยอดทางความคิดและพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร ครู-อาจารย์ เด็กเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป
ผลผลิต (Output)
1.
เยาวชน และบุคคลทั่วไป ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะ
การผลิต
ข้าวโปงและข้าวเม่าทอด
ด้วยการฝึกปฏิบัติจริงจากปราชญ์ท้องถิ่น
ให้คนรุ่นหลังหรือผู้สนใจได้สืบสานเป็นมรดกที่สืบทอดต่อกันไป
ผลลัพธ์ (Outcome)
1.
มีการพัฒนาความรู้และทักษะด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับเยาวชน และบุคคลทั่วไป เพื่อให้เกิดการสืบสานและสืบทอดทางวัฒนธรรมอย่างรู้คุณค่า
2.
มีการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดภาคภูมิใจในความเป็นไท และรักษ์ท้องถิ่น
ผลกระทบ (Impact)
1. เยาวชน และบุคคลทั่วไป
สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับไปพัฒนาเป็นสินค้า และสร้างรายได้เสริมให้แก่ตนเอง
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายปริญญา จั่นเจริญ
นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม