Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการละเล่นไทย : กีฬาวัฒนธรรมไทย & วัฒนธรรมโลก ว่าวไทยศิลปะลอยฟ้า

SDGs : 1 4 9 11

25-26 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น


กิจกรรมสืบสานและสร้างสรรค์ เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการละเล่นไทย :
กีฬาวัฒนธรรมไทย & วัฒนธรรมโลก ว่าวไทยศิลปะลอยฟ้า

          วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล ศัยยกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ทำหน้าที่ประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สืบสานและสร้างสรรค์ เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการละเล่นไทย : กีฬาวัฒนธรรมไทย & วัฒนธรรมโลก ว่าวไทยศิลปะลอยฟ้าซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 25 - 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์นัฐท์ธีรนนช์ รอดชื่น รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ฝ่ายบริหารและยุทธศาสตร์การพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ณ ห้องประชุมชอนตะวัน อาคาร 15 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
          ซึ่งโครงการดังกล่าว ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมนักบินว่าวประเทศไทย 4 ท่าน ได้แก่
                    1. นายสัญญา พุทธเจริญลาภ (นายกสมาคมนักบินว่าวประเทศไทย)
                    2. นายสมศักดิ์ วาทะยา (อุปนายกสมาคมนักบินว่าวประเทศไทย)
                    3. นายเลิศฤทธิ์ เลิศศรี (กรรมการสมาคมนักบินว่าวประเทศไทย)
                    4. นายชัยโชติ ไหวพริบ (กรรมการสมาคมนักบินว่าวประเทศไทย)
          ผลการประกวดว่าว ประเภทสวยงาม
                    รางวัลชนะเลิศ : นายทินภัทร ศักดิ์ถาวรกุล
                    รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : นายชญานนท์ แย้มนวล
                    รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 : นายรัชชานนท์ สงวนแสง
                    รางวัลชมเชย : นางสาวณภัทร แก้วมณี, นายธนพัฒน์ ศรีแพ่ง และนายกฤตานน แตงผัน
          ผลการประกวดว่าว ประเภทสร้างสรรค์
                    รางวัลชนะเลิศ : ว่าวมังกร 6 เหลี่ยม ผลงานของนางสาวณภัทร แก้วมณี และนายธนพัฒน์ ศรีแพ่ง
                    รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : ว่าวปลาคาร์ฟ ผลงานของนายชญานนท์ แย้มนวล และนายทินภัทร ศักดิ์ถาวรกุล
                    รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 : ว่าวเอ็งกอ ผลงานของนายวีรภูมิ นามวงค์ และนายกฤตานน แตงผัน
                    รางวัลชมเชย : ว่าวสิงโตสีฟ้า ผลงานของนางสาวอาทิตย์ ไตรกิจมงคล และนายรัชชานนท์ สงวนแสง
                    รางวัลชมเชย : ว่าวเอ็งกอหนวดขาว ผลงานของนางสาวดุษฎี พันธศรี, นางสาววราภรณ์ น้อยศักดิ์, นายอชิรวัฒน์ พุ่มทวี, นายอัครเดช แสงวิชัย, นายระพีพัฒน์ มีมั่งคั่ง และนายพัสกร บรรดาศักดิ์
          ผลที่ได้รับจากการจัดโครงการในครั้งนี้  ได้แก่
                    1. ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการได้รับความรู้เกี่ยวกับรูปแบบประวัติความเป็นมาของว่าวไทย และแนวทางการพัฒนารูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ลวดลายที่มีความเฉพาะที่สื่อถึงนครสวรรค์
                    2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกปฏิบัติในการทำว่าวไทย
                    3. ผู้เข้ารับการสามารถเล่นว่าวอย่างถูกวิธีและสามารถนำองค์ความรู้เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้
          ลิงก์ข่าว : https://www.facebook.com/share/p/1Y5pSdx9LC/