Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

การสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : “เครื่องประดับแฮนด์เมด”

SDGs : 1 4 11 17

16 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย

และอัจฉริยะภาพด้านดนตรี


กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม
และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้
เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : "เครื่องประดับแฮนด์เมด"


พื้นที่ดำเนินการ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร  อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
งบประมาณโครงการ 30,000 บาท
วันที่ดำเนินงาน 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
หลักการและเหตุผล
          งานหัตถกรรมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน งานหัตถกรรมไม่ว่าจะเป็นการทอ การถัก การปั้น ฯลฯ เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น  ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต   จังหวัดนครสวรรค์มีชุมชนที่มีความหลากหลายของวิถีชีวิตชุมชน และมีพื้นที่ที่มีการสร้างสรรค์งานจากภูมิปัญญาหัตถกรรม เช่น ชุมชนบ้านมอญที่ทำงานปั้น ชุมชนบ้านกลางแดดและชุมชนหนองกระดูกที่ทำงานด้านจักสาน และยังมีอีกหลายชุมชนที่อยู่ในจังหวัดนครสวรรค์ที่สร้างสรรค์งานหัตถกรรม
          ดังนั้น สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชนให้เกิดการยั่งยืน จึงได้จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม ทำองค์ความรู้จากชุมชนมาเผยแพร่ และออกแบบพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคและสร้างรายได้ให้กับประชาชนผู้ที่สนใจ

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้ศิลปหัตถกรรม และฝึกปฏิบัติการสร้างสรรค์งานเครื่องประดับ
          2. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และเทคนิคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริงในระหว่างการอบรม
          3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ได้

ผลผลิต (Output)
          1. เยาวชน และบุคคลทั่วไป ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะด้วยการฝึกปฏิบัติการสร้างสรรค์งานเครื่องประดับ โดยการปั้นดินเบา เทคนิคการลงสี เทคนิคการอบ ซึ่งสามารถใช้ดินจากบ้านมอญ จ.นครสวรรค์ และโดยการถักเชือก สืบสานภูมิปัญญาวัฒนธรรมทางด้านจักรสานของชุมชนหนองกระดูกเนื้อ  รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ และเทคนิคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

ผลลัพธ์ (Outcome)
          1. มีการพัฒนาความรู้และทักษะด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับเยาวชน และบุคคลทั่วไป เพื่อให้เกิดการสืบสานและสืบทอดทางวัฒนธรรมอย่างรู้คุณค่า

ผลกระทบ (Impact)
          1. เยาวชน และบุคคลทั่วไป  สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับ  มาสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะ  และนำไปสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริม

ผู้รับผิดชอบโครงการ รองศาสตราจารย์พรรษประเวศ อชิโนบุญวัฒน์  รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม