Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษา การสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นไพศาลี

SDGs : 4 5 11 17

18 มีนาคม 2568 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น


กิจกรรมสืบสานและสร้างสรรค์ เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น
การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษา การสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นไพศาลี

          วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 09.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล ศัยยกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ทำหน้าที่ประธานในพิธีเปิดโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น กิจกรรมสืบสานและสร้างสรรค์ เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การศึกษา การสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นไพศาลี” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรียานันท์ โพธิ์ศิรวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ฝ่ายวิชาการ แผนงานและประกันคุณภาพ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
          เวลา 17.30 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการเพิ่มศักยภาพชุมชน Soft Power บนฐานอัตลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น กิจกรรมสืบสานและสร้างสรรค์ เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น “การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษา การสืบสานวัฒนธรรมพื้นถิ่นนครสวรรค์ : สานสรรค์ สร้างศิลป์ ถิ่นสวรรค์” โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล ศัยยกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม ณ ลานสนามหญ้าหน้าอาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
          กิจกรรมภายในงาน ได้แก่ การแสดงนาฏศิลป์ไทยจำนวน 4 ชุดการแสดง จากโรงเรียนเครือข่ายวัฒนธรรมในนครสวรรค์
                    การแสดงชุดที่ 1 : “พยอมสุคนธชาติราชกุมารีศรีราชภัฏนครสวรรค์” จากสาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ อำนวยการแสดงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ควบคุมการแสดงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทธิรา จันทร์ดี หัวหน้าสาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร และอาจารย์กนกพัชร์ แจ่มฟ้า อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ แสดงโดยนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการดนตรีและศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
                    การแสดงชุดที่ 2 : “สักการะพุทธบูชาเวสาลี” จากโรงเรียนไพศาลีพิทยา อำนวยการแสดงโดยนายกิจจา เอี่ยมระหงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนไพศาลีพิทยา ควบคุมการแสดงโดยคุณครูดวงกมล กองไธสง และคุณครูธนวิณ แรงเขตการ แสดงโดยนักเรียนโรงเรียนไพศาลีพิทยา
                    การแสดงชุดที่ 3 : “สู่ขวัญข้าว บุญคูณลาน” จากโรงเรียนลาดยาววิทยาคม อำนวยการแสดงโดย ดร.ชรินรัตน์ สีทา ผู้อำนวยการโรงเรียนลาดยาววิทยาคม ควบคุมการแสดงโดย คุณครูนวลนลา สำเภายนต์, คุณครูณัฐวดี สายสุวรรณ และนางสาววิชรินทร์ ปกเกษ นักศึกษาฝึกประสบการณ์ แสดงโดยนักเรียนโรงเรียนลาดยาววิทยาคม
                    การแสดงชุดที่ 4 : “The Spirit of Pak Nam Pho” จากกลุ่มเยาวชนนาฏยศิลป์ต้นน้ำเจ้าพระยา อำนวยการแสดงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มงคล ศัยยกุล ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ควบคุมการแสดงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ภัทธิรา จันทร์ดี หัวหน้าสาขาวิชานาฏศิลป์และการละคร และอาจารย์กนกพัชร์ แจ่มฟ้า อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์และการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ แสดงโดยกลุ่มเยาวชนนาฏยศิลป์ต้นน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มเด็กและเยาวชนจากโรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
          ผลที่ได้รับจากการจัดโครงการในครั้งนี้  ได้แก่
                    1. ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ ได้รับความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นไพศาลีและภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์
                    2. เป็นเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะ ดนตรีและการแสดง
                    3. เด็ก เยาวชน ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาและประชาชนในท้องถิ่นทั่วไปมีจิตสำนึก เกิดความตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานภูมิปัญญาและคุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นค่านิยมที่ดีงามและความเป็นไทย
                    4. ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้แก่บุคคลอื่น ผ่านกระบวนการการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม อีกทั้งสามารถนำไปพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพต่อไปได้

          ลิงก์ข่าว : https://www.facebook.com/share/v/17YoBmxwTd/
                         https://www.facebook.com/share/p/19VfJa562g/
                         https://www.facebook.com/share/v/17YoBmxwTd/