Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
การเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทและรักษ์ท้องถิ่น : วันอนุรักษ์มรดกไทย
SDGs :
11
17
31 มีนาคม 2566
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย
และอัจฉริยะภาพด้านดนตรี
กิจกรรมการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไท และรักษ์ท้องถิ่น
:
วันอนุรักษ์มรดกไทย
พื้นที่ดำเนินการ
หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
งบประมาณโครงการ
6
0,000 บาท
วันที่ดำเนินงาน
31 มีนาคม พ.ศ. 2566
หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศิลปะและวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์อันโดดเด่นมาเป็นเวลาช้านาน และเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่หล่อหลอมชาวไทยในภูมิภาคต่าง ๆ ให้เกิดความสมานฉันท์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งนี้ ศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นมรดกและแสดงออกถึงสัญลักษณ์ของความเป็นชาติไทยมีอยู่หลายแขนง ทั้งโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ โบราณสถาน วรรณกรรม ศิลปหัตถกรรม นาฏศิลป์และดนตรี ตลอดจนการดำเนินชีวิตและประเพณีต่าง ๆ ของผู้คนในแต่ละท้องถิ่นในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มรดกทางวัฒนธรรมไทยในแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะค่านิยมและระบบประเพณีในท้องถิ่นถูกเพิกเฉย และถูกกระทบจากวัฒนธรรมต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามาในสังคมไทย ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้รำลึกถึงความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่และสืบทอดไปยังเยาวชนไทยรุ่นหลัง อีกทั้งยังเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้มีพระวิริยะอุตสาหะ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจในการอนุรักษ์มรดกของไทยในสาขาต่าง ๆ ทั้งพุทธศาสนา ภาษาไทย ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และดนตรีไทย รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์ เป็น "วันอนุรักษ์มรดกไทย" ซึ่งในปีพุทธศักราช 2566 นี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ 68 พรรษา
ในวาระมหามิ่งมงคลนี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงกำหนดจัดพิธีถวายชัยมงคลแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ขึ้นในวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการแสดงถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่และถ่ายทอดข้อมูลสู่นักเรียน นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร รวมถึงประชาชนทั่วไปได้ตระหนักในพระบารมี ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมไทยมาโดยตลอด
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมกันประกอบพิธีถวายชัยมงคลแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2. เพื่อให้คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมไทยร่วมกัน
ผลผลิต (Output)
1. เยาวชน นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป ได้รับการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไท รักษ์ท้องถิ่น
2. เวทีการแสดงด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่มีนักศึกษาเป็นร่วมของการแสดง
ผลลัพธ์ (Outcome)
1. มีการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอนและการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดภาคภูมิใจในความเป็นไท และรักษ์ท้องถิ่น
ผลกระทบ (Impact)
1. ก่อให้เกิดความความภาคภูมิใจในความเป็นไท รักษ์ท้องถิ่น และร่วมกันสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างเท่าทัน และตระหนักถึงคุณค่าความเป็นไทย
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัศนีพร วิศาลสุวรรณกร
รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
และนางสาวชัญภร สาทประสิทธิ์ หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม