Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

การสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม : การสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม

SDGs : 1 4 9 11 17

1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 มีนาคม 2566 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย

และอัจฉริยะภาพด้านดนตรี


กิจกรรมการสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม และการอบรมเชิงปฏิบัติการ
การถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม
: การสร้างสรรค์มูลค่าผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรม

พื้นที่ดำเนินการ นครสวรรค์
งบประมาณโครงการ 50,000 บาท
วันที่ดำเนินงาน 1 กุมภาพันธ์ - 31 มีนาคม พ.ศ. 2566
หลักการและเหตุผล
          ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และได้คำนึงถึงความสำคัญในการ ประชาสัมพันธ์ชุมชนให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ให้ทราบถึงคุณค่ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนวิถีชีวิต การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และองค์ประกอบต่าง ๆ ในสังคมเกิดการรวมกลุ่ม  เพื่อดำเนินกิจกรรมของชุมชน  ด้วยความสามัคคีร่วมกันคิดร่วมกันตัดสินใจร่วมกันสร้าง  โดยต่อยอดจากต้นทุนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชน  นำมาพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์  หรือการบริการ  หรือการแสดงออกทางวัฒนธรรมในรูปแบบใหม่  ทำให้เกิดประโยชน์และได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ก่อให้เกิดรายได้ต่อประชาชนชุมชนและท้องถิ่น
          สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เห็นความสำคัญในการสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์  เพื่อพัฒนาความสามารถพัฒนาเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์  ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่แสดงออกทางวัฒนธรรมเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  อันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองมาพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างรายได้  และความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์  และวิถีชีวิตของชุมชน  และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ชุมชนอื่นต่อไป

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อออกแบบ และ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าทางทางศิลปวัฒนธรรม
          2. เพื่อให้คนในชุมชนได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างองค์ความรู้และส่งเสริมการเพิ่มขึ้นของรายได้

ผลผลิต (Output)
          1.ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้รับการพัฒนาด้วยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน ดังนี้
                    1) ผลิตภัณฑ์ชุนชนยาดมสมุนไพร วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ผสมผสานบ้านพนาสวรรค์
                    2) ถุงกระสอบใส่ของขนาด 45x35 Cm ลวดลายที่ใส่มีความหมายที่เป็นมงคล ป้องกันภัยจากสิ่งเลวร้าย ซึ่งเป็นลวดลายศิลปะทวารวดี ที่ขุดพบจากโบราณสถานและโบราณวัตถุในจังหวัดนครสวรรค์ 

ผลลัพธ์ (Outcome)
          1. คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ภายในชุมชน

ผลกระทบ (Impact)
          1. คนในชุมชนสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน  และก่อให้เกิดการสร้างคุณค่าและมูลค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ  รองศาสตราจารย์พรรษประเวศ อชิโนบุญวัฒน์   รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม