Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น

SDGs : 4 11 17

1 มกราคม 2566 - 31 มีนาคม 2566 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย

และอัจฉริยะภาพด้านดนตรี


กิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น

พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
งบประมาณโครงการ 80,000 บาท
วันที่ดำเนินงาน มกราคม - มีนาคม พ.ศ. 2566
หลักการและเหตุผล
          ตามมาตรฐานการอุดมศึกษา  ได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษามีหน้าที่ในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม  โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นและของชาติ  ด้วยตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ดังกล่าว  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญของมหาวิทยาลัยต่อการขับเคลื่อนงานด้านศิลปวัฒนธรรม  โดยมุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน  เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนบนพื้นฐานของชุมชน  
          สำนักศิลปะและวัฒนธรรม  ได้ประสานความร่วมมือกับโรงเรียนบ้านทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์  ในการจัดกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น โดยทำการสำรวจความต้องการของโรงเรียนและชุมชนบ้านทำนบ  และลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลประกอบการจัดทำนิทรรศการแหล่งเรียนรู้  โดยเนื้อหาในนิทรรศการประกอบด้วย ประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านทำนบ  ประวัติความเป็นมาของจังหวัดนครสวรรค์  ภายใต้การร้อยเรียงเรื่องราวในหัวข้อ นครสวรรค์เลิศล้ำด้วยแหล่งทางธรรมชาติ ไหลรวมบรรจบกัน เชิดชูวัฒนธรรม  วิถีศิลป์การกินอยู่ 
          เพื่อให้เป็นชุมชนบ้านทำนบมีแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน  และเป็นการส่งเสริมการเรียนนอกเหนือจากตำราเรียน  ซึ่งจะทำให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม  ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์คุณค่าเหล่านี้ จนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของนครสวรรค์สืบไป

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมภายในชุมชน โดยมีข้อมูลความรู้อย่างเป็นระบบ สะดวกแก่การศึกษาค้นคว้า และเผยแพร่ให้ความรู้
          2. เพื่อส่งเสริมการเรียนนอกเหนือจากตำราเรียน ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม

ผลผลิต (Output)
          1.แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมภายในชุมชน ณ  โรงเรียนบ้านทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับการจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ สะดวกแก่การศึกษาค้นคว้า และเผยแพร่ให้ความรู้

ผลลัพธ์ (Outcome)
       1. มีการเผยแพร่องค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมในช่องทางที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการสืบค้นและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

ผลกระทบ (Impact)
          1. คุณครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคนในชุมชน ณ โรงเรียนบ้านทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ได้รับการส่งเสริมการเรียนนอกเหนือจากตำราเรียน ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมภายในท้องถิ่น

ผู้รับผิดชอบโครงการ    นางสาวศุภรสวรรค์  รอเพ็ชร์