Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

การประกวดออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มมูลค่า ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการออกแบบมาสคอตจังหวัดนครสวรรค์

SDGs : 8 17

1 มีนาคม 2566 - 30 เมษายน 2566 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย

และอัจฉริยะภาพด้านดนตรี


กิจกรรมการประกวดออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ทางด้านศิลปวัฒนธรรมเพิ่มมูลค่า
ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น และการออกแบบมาสคอตจังหวัดนครสวรรค์

พื้นที่ดำเนินการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  และหอศิลป์นครสวรรค์ ข้างแฟรี่แลนด์สรรพสินค้า
งบประมาณโครงการ 100,000 บาท
วันที่ดำเนินงาน มีนาคม - เมษายน พ.ศ. 2566
หลักการและเหตุผล
          “มหาวิทยาลัยที่เป็นพลังของแผ่นดินในการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล” เป็นปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ด้วยการสร้างเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมการผลิตครูและการพัฒนาท้องถิ่นสู่สากลตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างอัตลักษณ์ของนักศึกษาให้มีคุณลักษณะเป็นคนดีมีวินัย ใฝ่เรียนรู้สู้งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี มีจิตอาสา 
          สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์จึงเล็งเห็นคุณค่าการสร้างอัตลักษณ์ของกรด้วยการจัดประกวดการออกแบบลายผ้าบนชุดทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างรูปลักษณ์ความเป็นหนึ่งเดียวกัน และการประกวดออกแบบมาสคอตเพื่อเป็นสัญลักษณ์ขององค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
วัตถุประสงค์
          1. เพื่อเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ขององค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
          2. เพื่อนำชิ้นงานที่ได้ไปพัฒนาและต่อยอดองค์กรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ผลผลิต (Output)
          1. พื้นที่ในการแสดงผลงานการออกแบบมาสคอตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และ การประกวดออกแบบลายผ้าชุดทำงานสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
          2. บุคคลต้นแบบที่ได้รับรางวัลจากการประกวดออกแบบมาสคอตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 3 ผลงาน ดังนี้
                    1) ผลงานชนะเลิศ : น้องพะยอม  ผลงานของนายนภดล  อนันต์ถาวร
                    2) ผลงานรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง : น้องปัญญา  ผลงานของนายทวิช  จิตเที่ยง
                    3) ผลงานรองชนะเลิศอันดับสอง : น้อง NSRU  ผลงานของนายรุ่งโรจน์  แสงพันธ์ 
          3. บุคคลต้นแบบที่ได้รับรางวัลจากการประกวดออกแบบลายผ้าชุดทำงานสำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 3 ผลงาน ดังนี้
                    1) ผลงานชนะเลิศ : ลูกพะยอม  ผลงานของนายปัทวี  เข็มทอง
                    2) ผลงานรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง : พะยอมถิ่นนครสวรรค์  ผลงานของนางสาวดรุณี  มารารัมย์
                    3) ผลงานรองชนะเลิศอันดับสอง : สวรรค์พะยอม  ผลงานของนางสาวจตุพร  งามสงวนเพื่อส่งเสริมคุณค่าด้านศิลปะและวัฒนธรรมในตัวบุคคล 

ผลลัพธ์ (Outcome)
          1. คณาจารย์และบุคคลทั่วไป  เพื่อให้เกิดการสืบสานและสืบทอดทางวัฒนธรรมอย่างรู้คุณค่า

ผลกระทบ (Impact)
          1. ผลงานการออกแบบลายผ้าชุดทำงานสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  สามารถนำไปพัฒนาเป็นสินค้าและสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย

ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชัญภร  สาทประสิทธิ์   หัวหน้าสำนักงานผู้อำนวยการ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม