Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ ศิลปะและวัฒนธรรม

อบรมบริการวิชาการและบูรณาการศิลปวัฒนธรรมสู่ท้องถิ่น สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์

SDGs : 4 8 11 12

21 พฤษภาคม 2567 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

อบรมบริการวิชาการและบูรณาการศิลปวัฒนธรรมสู่ท้องถิ่น สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2567  ณ  สมาคมตาบอดจังหวัดนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ มีผู้เข้าร่วมโดย
ผู้พิการทางสายตาและเจ้าหน้าที่สมาคมตาบอดจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน  25  คน
ผู้ช่วยวิทยากร นักศึกษาสาขาวิชาคหกรรม จำนวน 5 คน 
อาจารย์ประจำสาขาวิชาคหกรรม จำนวน จำนวน 5 คน    รวมทั้งหมด 35 คน

หลักการและเหตุผล
วัฒนธรรมเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่างๆ ได้พัฒนาและ สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยแสดงออกในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย  ทั้งในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมไทย เป็นต้น  เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นให้เด็กและเยาวชน บุคคลทั่วไป ในชุมชนท้องถิ่นเกิดความตระหนัก   มีความตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเผยแพร่ สืบสานภูมิปัญญา และด้านศิลปวัฒนธรรม ในปัจจุบันวัฒนธรรมท้องถิ่น ประเพณีและวิถีชีวิตที่ดีงามขาดการถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่น้อย ในขณะที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากสังคมภายนอกได้เข้ามาคุกคามสังคมไทยมากขึ้น ดังนี้ การสืบสานและอนุรักษ์ฟื้นฟู รวมทั้งการเสริมสร้างคุณค่าทางสังคมและจิตใจต่อมรดกทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน บุคคลทั่วไป เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ เช่น อาหารไทย ขนมไทยการประดิษฐ์งานดอกไม้ การร้อยมาลัย  เป็นต้น

ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการบริการวิชาการและบูรณาการศิลปวัฒนธรรมสู่ท้องถิ่นให้เด็กและเยาวชน  บุคคลทั่วไป  จึงดำเนินโครงการบริการวิชาการสู่ชุมชน  โดยการสอนศิลปะการทำขนมไทยประยุกต์ ซึ่งนำความรู้ด้านการทำขนมไทยมาประยุกต์ใช้กับศิลปะการตกแต่งและการจัดเสิร์ฟเพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้และความสามารถในขนมไทย อีกทั้งยังเป็นอนุรักษ์และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมไทยให้สืบไป
ผลที่ได้จากโครงการ
  1. เยาวชน ผู้สนใจ และผู้ด้อยโอกาส บุคคลทั่วไป มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมไทย ได้รับรู้และถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง
  2. ได้ส่งเสริมความร่วมมือในการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไทยระหว่างสถาบันการศึกษาและท้องถิ่น และได้กลุ่มเครือข่ายด้านศิลปวัฒนธรรมไทยเพิ่มมากขึ้น
ผู้รับผิดชอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิรภัทร  สิริบรรสพ