Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
การถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ 5 ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เปิงมาง” ศิลปะการแสดง : วิถีศิลป์ถิ่นสวรรค์
SDGs :
4
5
17
8-9 มิถุนายน 2566
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย
และอัจฉริยะภาพด้านดนตรี
กิจกรรมการถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ 5
ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ
“เปิงมาง” ศิลปะการแสดง
:
วิถีศิลป์ถิ่นสวรรค์
พื้นที่ดำเนินการ
ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
งบประมาณโครงการ
6
0,000 บาท
วันที่ดำเนินงาน
8 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566
หลักการและเหตุผล
ตามบทบาทพันธกิจหลักของหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์นั้น เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนครสวรรค์ ทำหน้าที่ในการทำนุบำรุง ส่งเสริมและเผยแพร่งานด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาประจำท้องถิ่น ซึ่งหอวัฒนธรรม จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
กิจกรรมการถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ 5 ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่อง “เปิงมาง” ศิลปะการแสดง : วิถีศิลป์ถิ่นสวรรค์ เป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทางศิลปวัฒนธรรมและมรดกไทย ที่หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๖๒ มีการกำหนดนโยบายแนวคิดจากคณะผู้บริหารเพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ ให้เป็นไปตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และพันธกิจของหอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ สำหรับเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้งานด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งการเผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นมรดกของไทย ก่อให้เกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบทอดองค์ความรู้ให้คงอยู่คู่ความเป็นวิถีไทยสืบไป
จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยพื้นฐานของความหลากหลายทางกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่ามีประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และประเพณีที่แตกต่างกันไปบนฐานความคิดความเชื่อของแต่ละกลุ่มชน อาทิเช่น กลุ่มชาติพันธุ์จีน กลุ่มชาติพันธุ์ลาวโซ่ง (ไททรงดำ) กลุ่มชาติพันธุ์มอญ กลุ่มชาติพันธุ์ญวน กลุ่มชาติพันธุ์มุสลิม และกลุ่มชาติพันธุ์ไทยท้องถิ่น โดยมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของการเคลื่อนย้ายและอพยพเข้ามาอยู่อาศัย และการปรับตัวในบริบทใหม่ในพื้นที่ดังกล่าวที่มีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร ความหลากหลายของผู้คน ตลอดจนศิลปะ ประเพณี และวัฒนธรรม
“เปิงมาง” หรือเปิงมางคอก คือ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีประกอบจังหวะชนิดหนึ่ง ขึ้นหน้าด้วยหนัง ซึ่งมีบทบาทหน้าที่สำคัญอยู่ในวงปี่พาทย์มอญ ทำหน้าที่ตีขัดจังหวะ หยอกล้อกับตะโพนมอญเพื่อเพิ่มอรรถรส ในการรับชมและรับฟัง มีความสนุกสนานและไพเราะ นิยมนำเปิงมางมาทำเป็น “เปิงมางคอก” คือ การนำกลองเปิงมาง 7 ใบ ที่มีขนาดของหุ่นกลองลดหลั่นกันไป เทียบเสียงสูงต่ำไล่เป็นระดับด้วยการสาวกลองให้ตึงขึ้น รวมถึงการติดข้าวตะโพนเพื่อถ่วงเสียงให้ต่ำลง แล้วจึงนำลูกเปิงมางที่ปรับแต่งเสียงแล้วมาร้อยไว้กับแผงไม้รูปครึ่งวงกลม สูงประมาณ 60 ซม. เรียกว่า คอกเปิง โดยไล่มาจากทางซ้ายมือซึ่งเป็นเสียงต่ำสุด จนกระทั่งทางขวามือเป็นเสียงที่สูงที่สุด ผู้บรรเลงจะนั่งอยู่ภายในคอกครึ่งวงกลมนั้น ใช้มือทั้งสองข้างตี หรือบางครั้งก็ใช้ ข้อศอก ศีรษะ เพื่อความโลดโผนสนุกสนานเร้าใจ
ทั้งนี้ กิจกรรมการถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ 5 ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่อง “เปิงมาง” ศิลปะการแสดง : วิถีศิลป์ถิ่นสวรรค์ ที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการสืบสานและถ่ายทอดมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยยึดรูปแบบวิถีชีวิตของมนุษย์เป็นหลักสำคัญ เชื่อมโยงกับการรักษาความสมดุลในมิติความสัมพันธ์ 3 ด้าน กล่าวคือ 1) ความสัมพันธ์กับสังคมคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนและชุมชน 2) ความสัมพันธ์กับธรรมชาติ ทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ และป่าไม้ และ 3) ความสัมพันธ์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ เป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่สามารถพิสูจน์ได้ การถ่ายทอดและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยที่มีการประยุกต์อย่างสร้างสรรค์และมีระบบขั้นตอนที่ชัดเจน จะเป็นตัวเชื่อมโยงประสบการณ์ ความรู้ ความถนัด และความสามารถที่มีอยู่เดิมในแต่ละบุคคลนำไปสู่การสร้างกระบวนทัศน์ใหม่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องใหม่นับเป็นการบริหารจัดการเชิงวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม
นอกจากนี้ กิจกรรมการถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ 5 ในการอบรมเชิงปฏิบัติการชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่อง “เปิงมาง” ศิลปะการแสดง : วิถีศิลป์ถิ่นสวรรค์ครั้งนี้ เป็นการบูรณาการนำศาสตร์ด้านศิลปะการแสดงของชาวนครสวรรค์ว่าด้วยเรื่อง “เปิงมาง” ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของวงปีพาทย์มอญที่สะท้อนอัตลักษณ์ ส่วนประกอบสำคัญของกลุ่มชาติพันธุ์มอญ นำมาสู่กระบวนการถ่ายทอดความรู้ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ทางงานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่หรือผู้สนใจได้สืบสานต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ถอดองค์ความรู้ แบบไทย – ไท ปีที่ 5 ในการอบรมเชิงปฏิบัติการชุดองค์ความรู้ว่าด้วยเรื่อง “เปิงมาง” ศิลปะการแสดง : วิถีศิลป์ถิ่นสวรรค์ ในรูปแบบหลักสูตรระยะสั้น
2. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากวิทยากรหรือปราชญ์ท้องถิ่น ในงานด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้คนรุ่นหลังหรือผู้สนใจได้สืบสานเป็นมรดกที่สืบทอดต่อกันไป
3. เพื่อต่อยอดทางความคิดและพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร ครู-อาจารย์ เด็กเยาวชนนักเรียน-นักศึกษา รวมถึงประชาชนผู้สนใจทั่วไป
ผลผลิต (Output)
1. เยาวชน นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะการ
บรรเลงวงปี่พาทย์มอญ ประกอบเครื่องดนตรี “เปิงมาง”
ด้วยการฝึกปฏิบัติจริงจากบุคลากร
ภาควิชาดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปะสุโขทัย
2. การแสดงบรรเลงวงปี่พาทย์มอญ ประกอบเครื่องดนตรี “เปิงมาง” จำนวน
4
การแสดง ดังนี้
1)
การบรรเลงวงปีพาทย์มอญ เพลง “แมลงภู่ทอง” โดยวงปี่พาทย์มอญ จาก ภาควิชาดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปะสุโขทัย
2)
การแสดงชุด “ระบำทวารวดี” โดยนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
3)
การแสดงชุด “ฟ้อนม่านมงคล” โดยนักเรียนโรงเรียนสตรีนครสวรรค์
4)
การแสดงชุด “รำพม่าเปิงมาง” โดยนักเรียนโรงเรียนนครสวรรค์
3. สถาบันการศึกษามีส่วนร่วมในการสนับสนุนนักเรียน นักศึกษาในการพัฒนาศักยภาพด้านการบรรเลงวงปี่พาทย์มอญ ประกอบเครื่องดนตรี “เปิงมาง”
ผลลัพธ์ (Outcome)
1.
มีการพัฒนาความรู้และทักษะด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับเยาวชน นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป เพื่อให้เกิดการสืบสานและสืบทอดทางวัฒนธรรมอย่างรู้คุณค่า
2.
มีการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอนและการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดภาคภูมิใจในความเป็นไท และรักษ์ท้องถิ่น
ผลกระทบ (Impact)
1. เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ด้านการ
บรรเลงวงปี่พาทย์มอญ ประกอบเครื่องดนตรี “เปิงมาง
ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และสืบสานวัฒนธรรมไทยร่วมกับโรงเรียนต่าง ๆ ของจังหวัดนครสวรรค์
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัศนีพร
วิศาลสุวรรณกร
รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
และนายปริญญา จั่นเจริญ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม