Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ การถ่ายทอดองค์ความรู้ศิลปินถิ่นสวรรค์
SDGs :
4
17
13 มิถุนายน 2566
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย
และอัจฉริยะภาพด้านดนตรี
กิจกรรมการเชิดชูเกียรติศิลปินถิ่นสวรรค์
และการอบรมเชิงปฏิบัติการ
การถ่ายทอดองค์ความรู้ศิลปินถิ่นสวรรค์
พื้นที่ดำเนินการ
สตูดิโอ 56 ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
งบประมาณโครงการ
13
,000 บาท
วันที่ดำเนินงาน
13 มิถุนายน พ.ศ. 2566
หลักการและเหตุผล
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้ตระหนักและ
เล็งเห็นถึงความสำคัญ
ของการสร้างความรู้และผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมของศิลปินผู้สร้างสรรค์งาน ตลอดจนการอนุรักษ์ สืบสานมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ในอันที่จะพัฒนาให้เกิดกระบวนการสรรหาและคัดเลือกผลงานสร้างสรรค์และศิลปินผู้เป็นแบบอย่างให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม รวมทั้งสร้างเกณฑ์มาตรฐานการคัดเลือกศิลปินถิ่นสวรรค์ ที่มีความรู้ความสามารถ
ในการ
สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์แก่สังคม รวมทั้งสอดคล้องกับภารกิจ
ของสำนักศิลปะและวัฒนธรรมในการสร้างพื้นที่ใหม่ในการเรียนรู้ และเปิดโอกาสการพัฒนาศักยภาพให้กับศิลปินในการสร้างสรรค์ผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม และสามารถพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ไประดับชาติต่อไป
การคัดเลือกศิลปิน “ศิลปินถิ่นสวรรค์” เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อยกย่อง เชิดชูและประกาศเกียรติคุณให้กับศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมให้ได้รับรางวัล ซึ่งเป็นรางวัลแห่งความภาคภูมิใจให้กับศิลปินผู้สร้างสรรค์ โดยมีกระบวนการศึกษา ค้นคว้าและเผยแพร่ประวัติและผลงานของศิลปินที่สร้างสรรค์จากอดีตจนถึงปัจจุบันให้ปรากฏแน่ชัดว่า ผลงานดังกล่าวมีประโยชน์และคุณค่าต่อท้องถิ่น อย่างต่อเนื่อง
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีหน้าที่ในด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริม
และเผยแพร่ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนการสร้างกระบวนการพัฒนาและบริหารงานด้านวัฒนธรรม
จึงได้จัดให้มีการพิจารณาคัดเลือกและมอบโล่ให้กับศิลปิน “ศิลปินถิ่นสวรรค์” ประจำปีพุทธศักราช 2566 และจัดถ่ายทอดองค์ความรู้ของศิลปินถิ่นสวรรค์ ในรูปแบบการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ของศิลปินถิ่นสวรรค์ ในรูปแบบการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
2. เพื่อเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานเพิ่มมูลค่าทางผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม
ผลผลิต (Output)
1.เยาวชน และบุคคลทั่วไป ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะด้านลายเส้นสร้างสรรค์ และศิลปะภาพพิมพ์ ด้วยการฝึกปฏิบัติจริงกับอาจารย์วัฒนโชติ ตุงคะเตชะ ศิลปินถิ่นสวรรค์ ประจำปีพุทธศักราช
2566
ผลลัพธ์ (Outcome)
1. มีการพัฒนาความรู้และทักษะด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับเยาวชน และบุคคลทั่วไป เพื่อให้เกิดการสืบสานและสืบทอดทางวัฒนธรรมอย่างรู้คุณค่า
ผลกระทบ (Impact)
1. เยาวชน และบุคคลทั่วไป สามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับ มาพัฒนาตนเองประยุกต์ใช้และสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม
ผู้รับผิดชอบโครงการ
รองศาสตราจารย์พรรษประเวศ อชิโนบุญวัฒน์
รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม