Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพโรงเรียนที่เป็นเครือข่าย (โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์)
SDGs :
1
4
17
9-10 กุมภาพันธ์ 2566
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการพัฒนาศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพโรงเรียนที่เป็นเครือข่าย
(โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์)
พื้นที่ดำเนินการ
หอประชุม โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
วันที่ดำเนินงาน
9 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
งบประมาณโครงการ
80
,000 บาท
หลักการและเหตุผล
การสร้างและพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศชาติ เป็นภารกิจสำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ซึ่งการพัฒนาศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษาในครั้งนี้ จะเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดการพัฒนาศูนย์กลางการเรียนรู้ภายในชุมชน ให้ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลข่าวสาร ความรู้ เสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ของชุมชน และยังเป็นแหล่งให้บริการของชุมชนในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ของชุมชน ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ก่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง อันจะส่งผลทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ยังแสดงถึงการดำเนินงานตามพระราโชบายเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาและท้องถิ่น ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนประชาชนในท้องถิ่นและชุมชน
ในยุคปัจจุบันมีการรุกของกระแสสังคมเข้ามาเรื่อย ๆ จนภูมิปัญญาท้องถิ่นบางอย่างได้เลือนหายไปจากชุมชนและสังคม
ในการนี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ จึงประสานความร่วมมือกับ
โรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
เพื่อ
จัดทำโครงการสืบสานภูมิปัญญาจากชุมชน สู่ลูกหลานชาวหันคา จังหวัดชัยนาท
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบทอดและสืบสาน
ภูมิปัญญาในชุมชน จากผู้รู้ในชุมชน หรือเรียกกันว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ที่กระจายอยู่ในชุมชน ไปยังเด็กและเยาวชน เพื่อให้เยาวชนสามารถเรียนรู้จากภายในชุมชน ถ่ายทอดประมวลผล และเชื่อมโยงเครือข่ายในการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่าและความดีงามในท้องถิ่น และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นติดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะศิลปะการจับจีบผ้า การสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก
การทำขนมลูกชุบ และการทำโมเดลทำมือ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท มิให้สูญหายไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับนักเรียน
คุณครูและผู้ปกครอง
ผ่านการฝึกทักษะจากวิทยากรภูมิปัญญา ได้แก่ ศิลปะการจับจีบผ้า การสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก การทำขนมลูกชุบ และการทำโมเดลทำมือ
2. เพื่อให้นักเรียน
คุณครูและผู้ปกครอง
ได้เรียนรู้และร่วมอนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท
3. เพื่อให้นักเรียน
คุณครูและผู้ปกครอง
เกิดความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนหันคา จังหวัดชัยนาท
ผลผลิต (Output)
นักเรียน คุณครูและผู้ปกครอง
ของโรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์ ได้ฝึกทักษะด้านอาชีพ ศิลปะการจับจีบผ้า การสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก การทำขนมลูกชุบ และการทำโมเดลทำมือ
ผลลัพธ์ (Outcome)
นักเรียน คุณครูและผู้ปกครอง
ของโรงเรียนหันคาราษฎร์รังสฤษดิ์ ได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติ ศิลปะการจับจีบผ้า การสานตะกร้าจากเส้นพลาสติก การทำขนมลูกชุบ และการทำโมเดลทำมือ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
รองศาสตราจารย์พรรษประเวศ อชิโนบุญวัฒน์
รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
และนางสาวศุภรสวรรค์ รอเพ็ชร์ นักวิชาการศึกษา
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม