Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
วิจัยและนวัตกรรม
การเรียนการสอน
บริการวิชาการ
โครงการ ชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษที่ 21 กิจกรรม นวัตกรรมการเกษตรด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ
SDGs :
2
9
18 มกราคม 2568
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โครงการ ชุมชนดิจิทัล (Digital Community) เพื่อรองรับสังคมศตวรรษที่ 21 กิจกรรม นวัตกรรมการเกษตรด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ
วันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2568 ณ
โรงเรียนชุมแสงชนูทิศ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ โดยมีผู้เข้าร่วม
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 50 คน
วิทยากร 2 คน คณะกรรมการดำเนินงาน 12 คน
หลักการและเหตุผล
โลกของเทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนแทบจะตามไม่ทัน เทคโนโลยีอัจฉริยะมีบทบาทในการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงาน องค์กร ท้องถิ่น หากนำมาใช้อย่างเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันนั้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ มีความฉลาดมากขึ้น จนเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ได้อย่างมากมาย เรียกว่า Smart Device และถูกพัฒนาจนสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เรียกว่า Internet of Things ซึ่งมีลักษณะที่ระบุเอกลักษณ์ได้ เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่สรรพสิ่งใด ๆ จะมีความสามารถในการรับรู้ ตอบสนอง และมีศักยภาพในการโปรแกรมหรือสั่งการทำงานได้ รวมถึงการทำงานแบบอัตโนมัติ สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ ของรัฐบาลที่ต้องการให้ใช้เทคโนโลยีสร้างนวัตกรรมและผลักดันประเทศจากประเทศกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ตัวอย่างเช่น Smart Farm, Smart City, Smart Home, Smart Car เป็นต้น อีกทั้งภาคการศึกษาของประเทศไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษามีการเรียนการสอนในวิชาวิทยาการคำนวณเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการคิดเชิงคำนวณ การคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงได้จัดโครงการภายใต้กิจกรรมนวัตกรรมการเกษตรด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะขึ้น เพื่อส่งเสริมความรู้ให้กับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนท้องถิ่น โดยเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการพร้อมฝึกปฏิบัติจริง
ผลที่ได้จากโครงการ
ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้สำหรับการสร้างนวัตกรรมการเกษตรด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะให้กับชุมชนท้องถิ่นได้
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤพนธ์ พนาวงศ์
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกสิทธิ์ สิทธิสมาน
3. นางทัศนีย์ ทรัพย์ประมวล
4. นายศราวุธ ธะในสวรรค์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี