Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การเรียนการสอน
โครงการ ยกระดับคุณภาพบัณฑิตสู่ประเทศไทย กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมทักษะด้านอาชีพสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ
SDGs :
4
9
25 มกราคม 2568
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โครงการ ยกระดับคุณภาพบัณฑิตสู่ประเทศไทย กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการเสริมทักษะด้านอาชีพสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ
วันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2568 ณ ห้องปฏิบัติการอาหาร ๖๑๒ ตึกคหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมีนักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ จำนวน 12 คน
หลักการและเหตุผล
ในโลกยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านข้อมูลข่าวสาร การติดต่อสื่อสาร การประกอบอาชีพ รวมไปถึงการใช้ชีวิตด้วย ทำให้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมทางสังคมมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีและเข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกรวดเร็วในทุกมิติ ทั้งด้านการเรียนรู้และการดำเนินชีวิต ซึ่งการเสริมทักษะด้านอาชีพนั้นเป็นส่วนหนึ่งของทักษะชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ที่เป็นทักษะที่ต้องการให้ประชากรมีคุณภาพและศักยภาพในสังคม สามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และเป็นทักษะชีวิตรวมกับการทำงานในการประกอบอาชีพ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา ให้มีทักษะดังกล่าว
สาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมทักษะด้านอาชีพสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ จึงได้จัดโครงการยกระดับคุณภาพบัณฑิตสู่ประเทศไทย กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมทักษะด้านอาชีพสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาให้นักศึกษา สาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ เกิดคุณลักษณะของทักษะชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑ ให้ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพในอีกทางหนึ่งด้วย
ผลที่ได้จากโครงการ
๑. ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับการเสริมทักษะด้านอาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพ
๒. ผู้เข้าร่วมโครงการ ได้รับการพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยาและเทคโนโลยีชีวภาพในแต่ละชั้นปี
๓. ผู้เข้าร่วมโครงการ สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปปรับใช้ในการศึกษา การใช้ชีวิตประจำวัน และการทำงานต่อไปในอนาคตได้อย่างเหมาะสม
ผู้รับผิดชอบโครงการ
อาจารย์ศิริวัฒณา ลาภหลาย
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี