Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน
SDGs :
4
15
17
22-23 มิถุนายน 2566
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการพัฒนาศูนย์ยกระดับคุณภาพชุมชนและการศึกษา
กิจกรรม : ศูนย์การเรียนรู้การพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน
พื้นที่ดำเนินการ
หอประชุม โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
และหอประชุม โรงเรียนตลุกดู่วิทยาคม อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี
วันที่ดำเนินงาน
22 - 23 มิถุนายน พ.ศ. 2566
งบประมาณโครงการ
248
,600 บาท
หลักการและเหตุผล
การลดลงของความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง เป็นปัญหาท้าทายที่สำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สังคมไทยและประชาคมโลกตระหนักและให้ความสำคัญมากขึ้น รวมทั้งเป็นปัจจัยกำหนดความสำเร็จที่สำคัญต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี สอดคล้องกับการดำเนินงานของรัฐบาล ที่ได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ
BCG
เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง การขับเคลื่อนแผนที่นำทางการจัดการขยะพลาสติก (พ.ศ. 2561-2572) และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2561-2565) รวมทั้งได้ระบุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศกำหนด ตามความตกลงปารีส ขั้นต่ำที่ร้อยละ 20-25 จากกรณีปกติ ในปี 2573 (ค.ศ. 2030) นอกจากนั้น ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างการจัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทยในการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยคาดการณ์ประเทศไทยจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด ในช่วงปี 2573-2583 (ค.ศ. 2030-2040) อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ
BCG
ยังต้องการการขับเคลื่อนโดยการบูรณาการจากทุกภาคส่วนและในทุกระดับของแผนที่เกี่ยวข้อง ในขณะที่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับที่สูงขึ้นและสอดคล้องกับกระแสโลก ยังเป็นเรื่องที่มีความท้าทาย รวมทั้งต้องการแนวทางและการขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมและมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาในด้านอื่น ๆ
ความเชื่อมโยงของหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และยุทธศาสตร์ชาติ หมุดหมายที่ 10 มีความสอดคล้องกับเป้าหมายหมุดหมายกับเป้าหมายหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 จำนวน 4 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายหลักที่ 1 การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ที่มุ่งยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ด้วยการใช้องค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม เป้าหมายหลักที่ 3 การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม เพื่อการสร้างโอกาสและการกระจายรายได้สู่ชุมชน เป้าหมายที่ 4 ด้านการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตและบริโภคมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับขีดความสามารถในการรองรับของระบบนิเวศ และเป้าหมายหลักที่ 5 การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทโลกใหม่ โดยเฉพาะประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) โดยสอดคล้องกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคง ในด้านการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งทาง บกและทางทะเล เพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์ และให้ผลประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน ด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ในการอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต ขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีแห่งอนาคต สร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมและบริการที่เหมาะสม และสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอย่างยั่งยืน และด้านการสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ สนับสนุนการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาและใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อลดมลพิษและผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นส่วนสำคัญที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นมุ่งเน้น โดยต้องการส่งเสริมให้เกิดการสร้างฐานทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการผลิตให้เพียงพอและมีการใช้อย่าง มีประสิทธิภาพ มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติโดยคำนึงถึงขีดจำกัดและวางแผนศักยภาพในการฟื้นตัว สร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและเป็นธรรมในพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนของการดำเนินการประเมินมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติ (
Feasibility for Economic and Social Impact
) เพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ภายใต้โครงการนี้สิ่งหนึ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งต้องดำเนินการคือ การสร้างมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์ต้นแบบของใช้ทรัพยากรธรรมชาติจากส่วนเหลือให้เกิดประโยชน์ที่หลากหลายปราศจากเศษเหลือและของเสียจากอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และขยะอาหาร ลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นในขั้นตอนก่อนถึงผู้บริโภคและขยะอาหาร ตลอดจนปรับปรุงกฎระเบียบให้สนับสนุนการนำของเสียที่ยังมีประโยชน์ให้สามารถนำกลับมาใช้ได้ สู่การเป็นมหาวิทยาลัย
SDG
(
Green University
) และกิจกรรมในการยกระดับพื้นที่สู่การทำแผนการบริหารจัดการกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับศักยภาพทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ บริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน แก้ปัญหาความขัดแย้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างเหมาะสมกับศักยภาพทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาและยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการพื้นที่ พัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ภายใต้หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจทฤษฎีใหม่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งส่งผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจ การอนุรักษ์และการท่องเที่ยวต่อไป
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนในท้องถิ่น
2. เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับข้อมูลทรัพยากรในท้องถิ่นให้แก่นักเรียนในพื้นที่จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ สำหรับการพัฒนาตนเองเป็นมัคคุเทศก์น้อยประจำศูนย์การเรียนรู้ของโรงเรียน
3. เพื่อผลิตออนไลน์เกี่ยวสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนในท้องถิ่น
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นางช่อลัดดา
คันธชิต
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม