Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
การเรียนการสอน

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตสื่อนวัตกรรมในรายวิชาภาษาไทย

SDGs : 4 9

15 มีนาคม 2568 คณะครุศาสตร์

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตสื่อนวัตกรรมในรายวิชาภาษาไทย
ผู้รับผิดชอบโครงการ
            อาจารย์ศิวดล วราเอกศิริ, อาจารย์ ดร.อุบลนภา อินพลอย, อาจารย์สุชาดา ตั้งศิรินทร์, อาจารย์ชุติมา ช้างขำ, และอาจารย์รัศมี ราชบุรี
ระยะเวลาดำเนินการ
             15 มีนาคม 2568
สถานที่
            ณ อาคาร 11 ชั้น 3 ห้อง 308 
หลักการและเหตุผล
           การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถและทักษะตามมาตรฐานคุณวุฒิสอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 นับเป็นเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่สำคัญยิ่งประการหนึ่ง เพื่อส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยสามารถบรรลุเป้าประสงค์ของการเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นพลังของแผ่นดินการขับเคลื่อนพัฒนาท้องถิ่นสู่สากล                         หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย นับเป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญของการผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้เป็นไปตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้เล็งเห็นความสำคัญอย่างยิ่งในการเร่งรัดพัฒนาด้านคุณภาพของบัณฑิตตั้งแต่เริ่มต้นการศึกษาในหลักสูตรให้เป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยและมีสมรรถนะที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนศักยภาพการทำงานของตนเองในบริบทของสังคมแห่งศตวรรษที่ 21 ให้เป็นบุคคลที่เก่ง ดี และมีคุณภาพ สามารถดำรงตนเพื่อพัฒนาตนเองได้อย่างสม่ำเสมอจนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนพัฒนาสังคมในระดับชุมชนได้                                       
ดังนั้นเพื่อให้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายของมหาวิทยาลัยที่วางไว้ข้างต้นนี้บรรลุผลสำเร็จ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยเริ่มจากการจัดการเรียนรู้ภาษาและวรรณคดีไทยเพื่อปฏิบัติการสอนหน้าชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ, พัฒนาทักษะการจัดค่ายส่งเสริมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย, สื่อสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนภาษาไทย ตลอดจนเตรียมความพร้อมและพัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอนสำหรับครูภาษาไทยเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการเป็นนักศึกษาครูภาษาไทยให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติต่อไป
ผลที่ได้จากโครงการ
             1. นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยสามารถผลิตสื่อนวัตกรรมได้อย่างหลากหลายและเป็นพื้นฐานการบูรณาการการจัดการเรียนรู้ได้


             2. เป็นแนวทางที่ใช้ความรู้เรื่องการผลิตสื่อนวัตกรรมหลังจากสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยได้