Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ ศิลปะและวัฒนธรรม

กิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น

SDGs : 1 4 11 17

27 มีนาคม 2567 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการสืบสานและสร้างสรรค์ เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น


กิจกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น

          วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มอบหมายอาจารย์ภาสกร วรอาจ รองอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจการพิเศษ ทำหน้าที่ประธานใน “พิธีเปิดและมอบแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น” ณ โรงเรียนบ้านปางขนุน ต.แม่เล่ย์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพร พรหมมาศ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวรายงาน และมีนายอนุสรณ์ บุญประคม ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนในเขตพื้นที่ใกล้เคียง, ประธานและกรรมการสถานศึกษา และผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลแม่เล่ย์
          ทั้งนี้ โรงเรียนบ้านปางขนุนจัดการแสดงในพิธีเปิด ได้แก่ การแสดงนาฏศิลป์ร่วมสมัยชุด “วิพิธทัศนาแม่เล่ย์ เมืองอุดม” ซึ่งเป็นการแสดงที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ โดยใช้ถ่ายทอดจากความเชื่อ วิถีชิวิตการประกอบอาชีพของชาวแม่เล่ย์ และได้เกิดสถานที่ท่องเที่ยวของชาวแม่เล่ย์ โดยการแสดงแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 แสงธรรมนำวิถี/ช่วงที่ 2 ยลวิถีพฤกษาและนที/ช่วงที่ 3 อุดมทรัพย์เกิดเมืองใหม่
          โครงการดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570) ฉบับทบทวน ปี พ.ศ. 2565 / ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) และสร้างระบบนิเวศการวิจัยและนวัตกรรมเชิงพื้นที่/ เป้าประสงค์ที่ 1. มีการใช้ประโยชน์จากวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างเศรษฐกิจที่เน้นคุณค่า (Value-Based Economy) แก่สังคมท้องถิ่น/ กลยุทธ์ที่ 3. ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ในชุมชนท้องถิ่น
          ผลที่ได้รับจากการจัดโครงการในครั้งนี้  ได้แก่
                    1. นักเรียน คุณครูและผู้ปกครอง ได้รับความรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน  และตระหนักถึงคุณค่าทางวัฒนธรรม  ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์สืบไป
                    2. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีการเผยแพร่องค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมในช่องทางที่หลากหลาย เพื่อให้เกิดการสืบค้นและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

          ลิงก์ข่าว : https://www.facebook.com/share/p/1Bs1CSMBuq/