Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ ศิลปะและวัฒนธรรม

กิจกรรมการอบรมการเชิงปฏิบัติการ “การสืบสานวัฒนธรรมไทย : การบรรเลงและปรับวงดนตรีไทย”

SDGs : 1 4 5 11 17

29-30 มีนาคม 2567 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการสืบสานและสร้างสรรค์ เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น


กิจกรรมการอบรมการเชิงปฏิบัติการ “การสืบสานวัฒนธรรมไทย : การบรรเลงและปรับวงดนตรีไทย”

          วันที่ 29 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสืบสานและสร้างสรรค์ เพื่อธำรงคุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การสืบสานวัฒนธรรมไทย : การบรรเลงและปรับวงดนตรีไทย” ณ ห้องประชุมชอนตะวัน และห้องประชุมพระบาง ชั้น 4 อาคาร 15 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมี นางวรภรณ์ เชื่อมไพบูลย์ ผู้อำนวยการกลุ่มกิจการพิเศษ วัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิปปวิชญ์กร สิทธิอัครานนท์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, ดร.พิมรา ทองแสง รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผู้ช่วยศาสตราจารย์โชติกา ลิลา รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสื่อสารองค์กร คณะวิทยาการจัดการ เข้าร่วมพิธี
          การอบรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากอาจารย์วิพักตร์ คล้ายสุบิน (กลุ่มขับร้อง) อาจารย์พิเศษสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, อาจารย์ชิดพงษ์ ส่งเสริมวรกุล (กลุ่มเครื่องสาย) อาจารย์พิเศษสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทระ คมขำ (กลุ่มเครื่องเป่า) หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.ณยศ สาตจีนพงษ์ (กลุ่มเครื่องตี) อาจารย์ประจำคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, อาจารย์พรรษพงศ์ สิขัณฑกนาค (กลุ่มเครื่องหนัง) หัวหน้าภาควิชาดนตรีไทยโรงเรียนพาทยกุลการดนตรีนาฏศิลป์, อาจารย์วรรณวลี คำพันธ์ (กลุ่มเครื่องตี) อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และอาจารย์วรุตม์ ปัทมดิลก (กลุ่มเครื่องสาย) อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ร่วมเข้าอบรม
          ทั้งนี้ ผู้เข้าอบรมได้แก่ นักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ภายในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ โรงเรียนนครสวรรค์, โรงเรียนประชานุเคราะห์, โรงเรียนท่าตะโกพิทยาคม, โรงเรียนบรรพตพิสัยพิทยาคม, โรงเรียนชุมแสงชนูทิศ, โรงเรียนตาคลีประชาสรรค์, โรงเรียนตากฟ้าวิชาประสิทธิ์, โรงเรียนวัดมรรครังสฤษฏ์, โรงเรียนหนองกรดพิทยาคม, โรงเรียนสังข์บุญธรรมราษฎร์นุสรณ์, โรงเรียนวัดศรีอุทุมพร, โรงเรียนวัดดงกะพี้, โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์, โรงเรียนกีฬาจังหวัดนครสวรรค์ และโรงเรียนเทพศาลาประชาสรรค์ รวมทั้งนักศึกษาจากสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
          โดยผู้ผ่านการอบรมจากกิจกรรมดังกล่าว ได้ร่วมกันบรรเลงดนตรีวงมหาดุริยางค์ไทย ในวันจันทร์ที่ 1 เมษายน พุทธศักราช 2567 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ในเมือง) ในพิธีถวายชัยมงคล เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2 เมษายน พุทธศักราช 2567
          ผลที่ได้รับจากการจัดโครงการในครั้งนี้  ได้แก่
                    1. เด็กและเยาวชนได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบรรเลงเครื่องดนตรีไทย การรวมวงและการปรับวงดนตรีไทย และสามารถนำความรู้ไปพัฒนาตนเองและถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง
                    2. เด็กและเยาวชนเกิดความตระหนักรู้และเห็นความสำคัญของดนตรีไทย รวมทั้งมีจิตสำนึกร่วมกันในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และสืบสานวัฒนธรรมไทย
                    3. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นที่รู้จักในฐานะหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย
                    4. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สามารถสร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์ ส่งเสริม และสืบสานวัฒนธรรมไทยร่วมกับโรงเรียนต่าง ๆ ของจังหวัดนครสวรรค์ รวมทั้งเป็นที่รู้จักในฐานะหน่วยงานที่สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมประจำชาติไทย

          ลิงก์ข่าว : https://www.facebook.com/share/p/1AYYDVVdNY/