Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

พิธีเปิดและมอบ “ศูนย์การเรียนรู้เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน”

SDGs : 12 13 17

23 มิถุนายน 2566 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พิธีเปิดและมอบ “ศูนย์การเรียนรู้เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน”
 วันศุกร์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยรัตน์ ปราณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มอบหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพร พรหมมาศ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ทำหน้าที่ประธานในพิธีเปิดและมอบ “ศูนย์การเรียนรู้เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน” ณ โรงเรียนตลุกดู่วิทยาคม อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี  โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ชม ปานตา รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวรายงาน และมีนายปวิช พรศิรชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนตลุกดู่วิทยาคม กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ ในการนี้ อาจารยปฏิวิชช์ สาระพิน สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำหน้าที่นำประธานและแขกผู้มีเกียรติ ชม “ศูนย์การเรียนรู้ฯ” และมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล เครือแสง ทำหน้าที่พิธีกร
            ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมพิธีฯ ประกอบด้วย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยรัตน์ โพธิ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นายสุพัฒน์ เมืองจันทร์ รองนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลตลุกดู่ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี, นายเกียรติพงษ์ เกิดศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านปางไม้ไผ่, อาจารย์ชำมะเลียง เชาว์ธรรม หัวหน้าสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ครูและนักเรียนโรงเรียนตลุกดู่วิทยาคม รวมทั้งบุคลากรสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
โครงการ “ศูนย์การเรียนรู้เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน” เป็นโครงการที่ “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ร่วมกับ “สำนักศิลปะและวัฒนธรรม” ในการพัฒนา “ศูนย์การเรียนรู้เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน” ณ โรงเรียนตลุกดู่วิทยาคม โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
          ๑.เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา “มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นองค์กรอย่างยั่งยืน SDG University ตามอัตลักษณ์เด่นของมหาวิทยาลัย”  
          ๒.พัฒนาศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนในท้องถิ่น ให้มีระบบฐานข้อมูลทรัพยากร และเครือข่ายบูรณาการที่รับผิดชอบดูแลทรัพยากรชุมชนอย่างยั่งยืน
          ๓.พื้นที่อันเนื่องมาจากพระราชดำริมีการพัฒนายกระดับและมีศักยภาพในการบริหารจัดการเป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อความยั่งยืน     
          ๔.เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการเรียนให้แก่เด็กและเยาวชน รวมถึงประชาชนในท้องถิ่นให้ได้รับการศึกษาและเรียนรู้อย่างเป็นระบบ