Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การเรียนการสอน
สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (CWIE)
SDGs :
4
28 มีนาคม 2566
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
โครงการ
สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (
CWIE
)
หลักการและเหตุผล
การดำเนินงานสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (
CWIE
) มีความจำเป็นต้องดำเนินการแบ่งออกเป็น
3
ส่วนคือ
1
) นักศึกษา ต้องมีการเตรียมพร้อมทักษะด้านต่างๆก่อนออกปฏิบัติงาน เพื่อมีคุณสมบัติที่กีในการฝึกปฏิบัติงานและสามารถทำงานได้เลยเมื่อสถานประกอบการต้องการนักศึกษาทำงานต่อ
2
) คณาจารย์ โดยต้องมีการนิเทศนักศึกษาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (
CWIE
) อย่างต่อเนื่อง และสร้างความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานสหกิจศึกษาเพื่อเป็นคณาจารย์นิเทศในการผลักดันสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (
CWIE
) ให้สัมฤทธิ์ผล
3
) สถานประกอบการ โดยต้องดำเนินการสร้างเครือข่ายสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (
CWIE
) ติดต่อประสานการดำเนินงานสหกิจศึกษา ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานให้องค์กรต่างๆทราบ นำไปสู่การจัดทำความร่วมมือ (
MOU
) อีกด้วย
และเมื่อนักศึกษากลับจากการปฏิบัติงาน นักศึกษาต้องนำเสนอผลงานสหกิจศึกษาหลังจากกลับมาจากสถานประกอบการ และทางคณะดำเนินการคัดเลือกกลุ่มที่เหมาะสมเพื่อเป็นตัวแทนคณะในการประกวดผลงานสหกิจศึกษาระดับเครือข่ายภาพเหนือ เพื่อเป็นการผลักดันให้นักศึกษามีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และเป็นแรงบันดาลใจแก่นักศึกษารุ่นน้องในการออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
วันที่
28 มีนาคม พ.ศ.2566
ผลผลิต
1.
นักศึกษาเข้าอบรมเตรียมสหกิจศึกษาและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 50 คน
2. ร้อยละของนักศึกษาที่ผ่านการอบรมเตรียมความพร้อมและสามารถไปปฏิบัติงานการจัดการเรียนการสอนแบบเชิงบูรณาการกับการทำงาน (
WIL)
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
3. ร้อยละของจำนวนหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
(CWIE)
ไม่น้อยกว่าร้อยละ
10
ผลลัพธ์
1.
นักศึกษาที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษามีความพร้อมในการออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา
ผลกระทบ
1.
นักศึกษาที่ไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษานำเสนอผลงานสหกิจศึกษาหลังจากกลับมาจากสถานประกอบการ และทางคณะดำเนินการคัดเลือกกลุ่มที่เหมาะสมเพื่อเป็นตัวแทนคณะในการประกวดผลงานสหกิจศึกษาระดับเครือข่ายภาคเหนือ
2.
นักศึกษาสามารถไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาตามนโยบายของคณะ เป็นการเพิ่มศักยภาพของนักศึกษา
3.
นักศึกษาและอาจารย์ผู้คุมทีมได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่และนำผลการประกวดมาใช้ในการพัฒนาผลงานให้ดียิ่งขึ้น
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผศ.ดร.กันยาพร กุณฑลเสพย์