Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

สร้างผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นและสิ่งทอชุมชนด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์

SDGs : 4 8

1 มกราคม 2566 - 6 มิถุนายน 2568 คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

โครงการ         การสร้างผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นและสิ่งทอชุมชนด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์
หลักการและเหตุผล
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ประเทศไทยจะยังคงเผชิญกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก ทั้งที่เป็นการเปลี่ยนแปลงระยะสั้นและระยะยาว ทั้งที่สามารถคาดการณ์ได้ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และการสร้างภูมิคุ้มกันและไม่สามารถคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน โดยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ก่อให้เกิดปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจ ปัญหาการว่างงาน รวมทั้งผู้ประกอบการ และธุรกิจในชุมชนได้รับผลกระทบต่อยอดการผลิตและการส่งออกของประเทศ จึงจำเป็นต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในระดับชุมชนท้องถิ่นสู่ระดับสังคม และสร้างความเข้มแข็งต่อการรับมือการแก้ไขปัญหาที่ท้าทายของประเทศในอนาคตได้ โดยการนำทุนทางสังคม และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตและผู้ประกอบการในท้องถิ่น ขยายผลสู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และธุรกิจขยาดกลาง ขนาดย่อม SME รวมทั้งธุรกิจเพื่อการค้าและการส่งออกสู่การสร้างรายได้ในท้องถิ่น มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก สู่การเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันธุรกิจ เพื่อการค้าและการส่งออก สร้างรายได้ให้ประเทศ (GDP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศที่เพิ่มขึ้นในระยะยาวต่อไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้มีนโยบายด้านการพัฒนาหลักสูตรให้เข้ากับสภาวการณ์ในปัจจุบันและตอบสนองความต้องการของบริบทพื้นที่ มหาวิทยาลัยมีความมุ่งมันที่จะพัฒนาหลักสูตรการเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครอบคลุมและตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนทุกกลุ่มในอนาคต เพื่อให้การจัดการเรียนการสอน มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานมากที่สุด จำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและความต้องการของตลาดแรงงาน  โดยเฉพาะหลักสูตรที่มุ่งการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะเดิมให้ดีขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต (Up Skill) และหลักสูตรที่มุ่งสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นในการทำงาน ให้สอดคล้องกับความต้องการ (Re Skill) ด้วยพฤติกรรมการเรียนรู้มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ความจำเป็นในชีวิตประจำวัน ทั้งด้านเวลา ค่าใช้จ่าย การเรียนรู้ที่มีเวลาจำกัดต้องการผลลัพธ์ที่สูงเพียงพอที่จะเป็นแนวทางในการสร้างงานสร้างรายได้ ดังนั้น การเรียนรู้ด้วยระบบหลักสูตรระยะสั้นจึงเป็นตัวเลือกที่สำคัญ เนื่องจากหลักสูตรระสั้นเป็นหลักสตรที่มีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในงานหรือกิจกรรมเฉพาะอย่างที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะ มีผลการเรียนรู้ที่ชัดเจน ประเมินผลการเรียนรู้ได้ ทันทีเป็นหลักสูตรที่มีลักษณะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางาน เสริมสร้างสมรรถภาพของคนวัยทํางานและอาชีพ สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับตัวเองและสังคมได้
ในงบประมาณ 2564-2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้จัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรที่ตรงต่อความต้องการของประเทศหลายหลักสูตร รวมทั้งหลักสูตรระยะสั้นธุรกิจความงามและแฟชั่น ซึ่งเป็นความร่วมมือของคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการในด้านการจัดทำหลักสูตร การจัดทดลองใช้หลักสูตรโดยการอบรม รวมทั้งกิจกรรมการประกวดด้านความงามและแฟชั่น โดยเป็นหลักสูตรที่สามารถสร้างเป็นงานบริการวิชาการที่สร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยช่องทางหนึ่งได้ และเป็นหลักสูตรที่สามารถพัฒนาต่อเนื่องในการสร้างผู้เรียนที่ตรงต่อตลาดแรงงานในยุคปัจจุบัน และตรงต่อทิศทางการพัฒนาในอนาคตได้
จากเหตุผลดังกล่าว คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ขับเคลื่อนโครงการ โดยสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ มีแนวทางในการนำหลักสูตรธุรกิจแฟชั่นและสิ่งทอ มาสร้างเป็นหลักสูตรต่าง ๆ ที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ ผ่านกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการแฟชั่นและสิ่งทอให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น (Upskill)  กิจกรรมการแข่งขันทักษะการออกแบบและตัดเย็บเครื่องแต่งกาย และการแสดงแฟชั่นโชว์จากผลงานประกวด กิจกรรมการขยายผลและสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นและสิ่งทอ ที่สร้างความร่วมมือกับภาครัฐหรือภาคเอกชนที่ข้องได้ ในแนวคิดโครงการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นและสิ่งทอชุมชนด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์  เพื่อส่งเสริมการนำหลักสูตรไปใช้งานจริง     ในการสร้างผู้ประกอบการและขยายผลสู่ผู้ประกอบการแฟชั่นและสิ่งทอกลุ่มอื่น ๆ ต่อไป 
ระยะเวลาที่ใช้ในโครงการ
ไตรมาส 2-3 (เดือนมกราคม - มิถุนายน 2566)
ผลผลิต
1. มีกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการแฟชั่นและสิ่งทอ จำนวน  1  กิจกรรม
2. มีการแข่งขันเพื่อพัฒนาทักษะด้านแฟชั่นและสิ่งทอ จำนวน  1  ครั้ง
3. ได้หลักสูตรอบรมระยะสั้น ด้านธุรกิจแฟชั่นและสิ่งทอ จำนวน  3  หลักสูตร
4. มีการสร้างงานบริการวิชาการที่มีการสร้างรายได้ จำนวน  3  หลักสูตร
5. มีผู้เข้าร่วมอบรมโครงการระยะสั้น จำนวน  20 คน/หลักสูตร
6. มีแบรนด์ผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นและสิ่งทอ จำนวน  5 แบรนด์
7. มีเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นและสิ่งทอ จำนวน 1 เครือข่าย
ผลลัพธ์
1. เกิดหลักสูตร ด้านธุรกิจแฟชั่นและสิ่งทอ ในสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อสร้างทางเลือกของชุมชน ท้องถิ่น และตอบสนองต่อการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ
2. เกิดแบรนด์ผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นและสิ่งทอ ขยายผลสู่ผู้ประกอบการสิ่งทอจังหวัดนครสวรรค์
ผลกระทบ
1. ได้พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการแฟชั่นและสิ่งทอให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น (Upskill)
2. มีเวทีแข่งขันทักษะด้านแฟชั่นและสิ่งทอเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการแฟชั่นและสิ่งทอ
3. เกิดการสร้างงานบริการวิชาการที่มีการสร้างรายได้ โดยการจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นด้านธุรกิจแฟชั่นและสิ่งทอ
4. มีการขยายผลและสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจแฟชั่นและสิ่งทอจังหวัดนครสวรรค์ 
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์รพีพัฒน์ มั่นพรม