Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน University as a Marketplace

SDGs : 2 8

1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

โครงการ “ยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน University as a Marketplace
หลักการและเหตุผล
การน้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ปัจจุบันได้ทรงมอบผ่านองคมนตรีโดยมีพระราชดำรัชใจความตอนหนึ่งว่า “ให้แนะนำมหาวิทยาลัยราชภัฏให้ทำงานให้เข้าเป้าในการยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ตน” ตลอด 30 ปี พระองค์ท่านทรงสนพระทัยระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอันเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกด้าน จึงเป็นที่มาของการปรับยุทธศาสตร์ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศทั้ง 38 แห่ง ผ่านที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏที่ได้น้อมนำ พระบรมราโชบายมาเป็นยุทธศาสตร์หลักมุ่งให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศเป็นแกนนำในการพัฒนาท้องถิ่น โดยกำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ระยะ 20 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2560 ถึง พ.ศ.2579 จากการที่ภาครัฐมีนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และจัดเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว  มีกรอบแนวคิดหลักในการผลักดันให้กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการในท้องถิ่น เป็นพลังขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย เพื่อให้ดำเนินธุรกิจด้วยองค์ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ทั้งในระดับสาขาธุรกิจและระดับผู้ประกอบการ และมุ่งสนับสนุนตามระดับการเติบโตของธุรกิจที่สามารถในการดำเนินธุรกิจที่สูงขึ้นและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและยกระดับกระบวนการผลิตมาตรฐานและคุณภาพผลิตภัณฑ์ของชุมชน ภายใต้กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนแบบครบวงจร
การดำเนินงานพัฒนาท้องถิ่นนั้น ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏได้คำนึงถึงการทำงานบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนกับหน่วยงานในพื้นที่ โดยได้ให้ความสำคัญกับแผนการพัฒนาประเทศ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติกรอบการพัฒนาประเทศระยะยาว (ยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี) แผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด และแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด ในพื้นที่ให้บริการ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ ได้ทำการศึกษาข้อมูลจากแผนต่างๆ ดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่จะนำมาสู่การทำงานร่วมกันในพื้นที่ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ระยะ 20 ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ด้านเศรษฐกิจ ที่มุ่งยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ในชุมชนและท้องถิ่น โดยการนำศาสตร์หรือองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยมาให้บริการวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น และองค์ความรู้ของชาวบ้าน เป้าหมาย คือ การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน University as a Marketplace  ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า โดยเน้นการส่งเสริมธุรกิจในชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชนให้มีรายได้เป็นของตนเอง สามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรท้องถิ่น โดยการนำศาสตร์องค์ความรู้ที่มีนำมาใช้แก้ไขปัญหาความต้องการในท้องถิ่นนำองค์ความรู้ มุ่งให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมด้านการพัฒนาท้องถิ่นที่ครอบคลุมต่อการพัฒนาศักยภาพและความสามารถ เป้าหมาย คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันอุดมศึกษาเป็นที่พึ่งของประชาชนในท้องถิ่นโดยการสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชน (Local Lab) และวิสาหกิจชุมชนให้เกิดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมพัฒนาอาชีพ เพื่อสร้างฐานรากทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง โดยกระตุ้นให้ประชาชนพัฒนาศักยภาพและมีขีดความ สามารถในการยกระดับคุณภาพชีวิต 


วันที่ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566


ผลผลิต (Output)

 ผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่ให้บริการได้รับการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผนวก University as a Marketplace

ผลลัพธ์ (Outcome)
1)        จำนวนองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรมของอาจารย์หรือนักศึกษาที่ดำเนินการร่วมกับชุมชนเป็นฐานในการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น
2)        จำนวนอัตลักษณ์ของท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์และยกระดับ จำนวน 1 อัตลักษณ์ต่อจังหวัด
3)        จำนวนผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้รับการพัฒนา/วิสาหกิจชุมชน/ผู้ประกอบการใหม่ในพื้นที่บริการของ มรภ.ที่ประสบความสำเร็จจากการสนับสนุนองค์ความรู้จาก มรภ. จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ต่อจังหวัด
4)        จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อจังหวัด
5)        จำนวนรายวิชาในหลักสูตรที่มีการบูรณาการจัดการเรียนการสอนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น
6)        จำนวนศูนย์การเรียนรู้ยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้อื่นในท้องถิ่น

7) จำนวนผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้น
8)        ระบบการตลาดแบบออฟไลน์ และแบบออนไลน์ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏดำเนินการเปิดพื้นที่ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคสู่ตลาดออนไลน์ University as a Marketplace
9)        มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนรวมพลังราชภัฏจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยมีการจัดแบบหมุน เวียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภูมิภาค และ Grand Opening มหาวิทยาลัยราชภัฏเจ้าภาพหลัก

10)        ผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาและยกระดับให้มีมาตรฐานและคุณภาพที่สูงขึ้น
ผ      ผลกระทบ 
                            มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง นำองค์ความรู้สู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นสู่มาตรฐาน และพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ประกอบการและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยสามารถใช้ประโยชน์จากทุนทางสังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม จากการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า Value chain ในการพัฒนาแบบครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งมีการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ผู้อื่นในท้องถิ่นโดยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น โดยมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ในการรวบรวมและหาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่การแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม การกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน โดยรอบในพื้นที่ให้บริการเพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในท้องถิ่น ซึ่งมีการจัดกิจกรรม มรภ.ทั้ง 38 แห่ง มหกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนรวมพลังราชภัฏจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน สู่ตลาดสินค้าเพื่อการส่งออก โดยส่งเสริมผู้ประกอบการสร้างช่องทางการตลาด การค้าและการส่งออก ได้แก่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในรูปแบบออนไลน์ และออฟไลน์ สู่ระบบเศรษฐกิจฐานรากแบบยั่งยืนตามโมเดล BCG Model เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม และนำอัตลักษณ์ของพืชและสัตว์เศรษฐกิจ ตัวรอง รวมทั้งงานด้านวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น Bio + Culture = สร้างมูลค่าสูงทางเศรษฐกิจ เชิงพาณิชย์ ทำให้ประชาชนในพื้นที่สามารถพึ่งตนเอง เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ ภายใต้การน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.10 คุณลักษณะคนไทยที่ดี 4 ประการ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
      ผู้รับผิดชอบ  ผศ.ดร.เพ็ญนภา  มณีอุด