Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

ศูนย์นวัตกรรมอาหารต้นแม่น้ำเจ้าพระยา

SDGs : 2 8

1 ตุลาคม 2565 - 30 มิถุนายน 2566 คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

โครงการ ศูนย์นวัตกรรมอาหารต้นแม่น้ำเจ้าพระยา
หลักการและเหตุผล

คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นคณะที่มีองค์ความรู้ในหลายๆ ศาสตร์วิชา อาทิเช่น ศาสตร์ด้านเกษตร ศาสตร์ด้านวิทยาศสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ศาสตร์ด้านวิศวกรรม ศาสตร์ด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และศาสตร์ด้านการออกแบบสร้างสรรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นคณะที่กล่าวได้ว่าสามารถบูรณการองค์ความรู้ต่างๆ ให้สามารถเกิดประโยชน์แก่ชุมชนและท้องถิ่น และหากได้รับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยด้วยแล้วนั้น จะยิ่งเกิดประโยชน์กับวิสาหกิจชุมชนและสถานประกอบการอาหารที่ต้องการเพิ่มขีดความสามารถไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้านเทคโนโลยีที่ช่วยในกระบวนการผลิต จนถึงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการขายเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าได้มากขึ้น



  ดังนั้น สาขาวิชาอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร ได้จัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอาหารต้นแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการให้คำปรึกษาด้านการสร้างแนวคิด วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารต้นแบบ และบริการเครื่องมือในการวิเคราะห์และแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม/หลักสูตรระยะสั้น ให้กับ ผู้การประกอบธุรกิจอาหาร วิสาหกิจชุมชน บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป โดยสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยที่เกี่ยวข้อง นั่นคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ สาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์ พาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ อุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์ และเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ช่วยในการพัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในลำดับต่อไป

ระยะเวลาที่ใช้ในโครงการ
เดือนตุลาคม 2565 ถึง เดือนมิถุนายน 2566
ผลผลิต
1. มีหลักสูตรฝึกอบรม/หลักสูตรระยะสั้น จำนวน 5 หลักสูตร
2. กลุ่มผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และผู้ที่สนใจเข้าอบรมในหลักสูตรฝึกอบรม/หลักสูตรระยะสั้น เพื่อต่อยอดด้านธุรกิจอาหาร หลักสูตรละ 20 คน จำนวนรวมไม่น้อยกว่า 80 คน
3. บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป หลักสูตรละ 30 คน
4. มีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า 5 โรงเรียน
ผลลัพธ์
1. ได้หลักสูตรฝึกอบรม/หลักสูตรระยะสั้น
2. ได้ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
3. ได้บริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้
ผลกระทบ
มีศูนย์นวัตกรรมอาหารต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เป็นแหล่งบริการและเรียนรู้ ด้านโรงงานต้นแบบและแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ให้กับผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน บุคลากรทางศึกษา นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ย่านมัทรี)
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชื่นจิต พงษ์พูล