Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

พัฒนาศูนย์การเรียนรู้การเกษตรปลอดภัยตามศาสตร์พระราชาด้วยเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะและหมู่บ้านยุวเกษตร

SDGs : 2 8

1 ตุลาคม 2565 - 30 มิถุนายน 2566 คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

โครงการ  พัฒนาศูนย์การเรียนรู้การเกษตรปลอดภัยตามศาสตร์พระราชาด้วยเทคโนโลยีการเกษตรอัจฉริยะและหมู่บ้านยุวเกษตร
หลักการและเหตุผล

การเกษตรอัจฉริยะหรือ Smart Farm เป็นแนวคิดการบริหารจัดการการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการผลิตที่เหมาะสมกับพื้นที่และการใช้ทรัพยากรในการผลิตเท่าที่จำเป็นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลผลิตสูงสุด และมีความยั่งยืน โดยอาศัยการบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่อย่างครบวงจร ใช้นวัตกรรม และเทคโนโลยีเกษตรแบบแม่นยำ (Precision agriculture) เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geo-informatics และการเก็บข้อมูลระยะไกล หรือ Remote sensing รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ (Internet of Things หรือ IoT) ซึ่งข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาประมวลผลและจัดทำเป็น Data platform เพื่อสร้างระบบช่วยการตัดสินใจ (Decision Support System) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงที่สุด รวมถึงใช้วิเคราะห์แนวทางแก้ไขหรือพัฒนาที่ดีหรือเหมาะสมที่สุด ต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการผลิต อีกทั้งยังใช้ในการประมวลผลเป็นชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ให้อยู่ในรูปแบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) และจัดเก็บในระบบ Cloud ที่สามารถนำข้อมูลมาใช้งานได้ สะดวก รวดเร็ว สำหรับประกอบการตัดสินใจกิจกรรมทางการเกษตร รวมทั้งพยากรณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรรม ประชากร ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพการเกษตรตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 ด้วยการส่งเสริมการรวมตัวกันของเด็กและเยาวชน จัดตั้งเป็น “กลุ่มยุวเกษตรกร”เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะอาชีพ การเกษตร ทักษะการดำเนินชีวิตในสังคม โดยเน้นวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์และการปฏิบัติจริง (learning by doing) ให้ยุวเกษตรกรมีความสามารถและมีความพร้อมในการสืบทอดอาชีพการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์จึงมีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการเกษตร ซึ่งจะเห็นได้ว่าเยาวชนไทยในปัจจุบันมีโอกาสได้รับการศึกษามากขึ้นแต่ยังมีนักศึกษาบางส่วนต้องออกกลางคันด้วยสาเหตุต่างๆ ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา สาขาวิชาจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพการเกษตร ยอมรับในคุณค่าความสำคัญของการเกษตรต่อการดำรงชีวิต

ดังนั้น การนำเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้พัฒนาการเกษตร และเป็นที่ฝึกของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของเกษตรกรในท้องถิ่น เป็นที่ปรึกษาของชุมชนต่าง ๆ ที่ต้องการพัฒนาให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น หรือมีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการอบรมความรู้ทางการเกษตรและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องที่เหมาะสมกับชุมชนและท้องถิ่น
ระยะเวลาที่ใช้ในโครงการ
เดือนตุลาคม 2565 – มิถุนายน 2566
ผลผลิต

1. ศูนย์เรียนรู้ฟาร์มเกษตรปลอดภัยอัจฉริยะต้นแบบ สำหรับเป็นฐานการเรียนรู้ จำนวน 1 ศูนย์
2. ห้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย จำนวน 1 ห้อง

3. แปลงปลูกพืช จำนวน 1 แปลง
4. โรงเรือนเกษตรอัจฉริยะ จำนวน 1 โรงเรือน

5. ฝึกอบรมยุวเกษตร จำนวน 20 คน
ผลลัพธ์

1. องค์ความรู้ด้านการทำเกษตรปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี
2. นักศึกษาที่เรียนวิชาเกษตร ได้มีแหล่งฝึกทักษะเกษตรอัจฉริยะปลอดภัย
ผลกระทบ
1. มีฟาร์มเกษตรอัจฉริยะต้นแบบ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของการทำเกษตรอัจฉริยะในท้องถิ่น
2. นักศึกษามีทักษะการเกษตรปลอดภัย ด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ
3. นักศึกษายุวเกษตรมีรายได้ระหว่างเรียนจากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร 
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพดล ชุ่มอินทร์