Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย และอัจฉริยะภาพด้านดนตรี

SDGs : 1 4 11 17

1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย และอัจฉริยะภาพด้านดนตรี


พื้นที่ดำเนินการ นครสวรรค์
งบประมาณโครงการ 1,900,000 บาท
วันที่ดำเนินงาน ตุลาคม 2565 ถึง กันยายน 2566


หลักการและเหตุผล
          ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา 2561 มาตรฐานที่ 4 ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อให้เกิดการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย การสร้างโอกาสหรือมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และแสดงถึงเอกลักษณ์ภูมิใจในความเป็นไทย การสร้างโอกาสหรือมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และแสดงถึงเอกลักษณ์และหล่อหลอมความรักชาติ รักวัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ ให้สืบทอดไปยังเยาวชนอย่างรู้คุณค่าและก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของอัตลักษณ์ชุมชนซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในตัวชี้วัดของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ระยะ 20 ปี ที่กำหนดให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ  ควรมีความโดดเด่นและเข้มแข็งในการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม  ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เสริมสร้างคุณค่าและจิตสำนึกรักษ์ท้องถิ่น  บูรณาการให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่การให้บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏแต่ละแห่ง  โดยการสร้างองค์ความรู้จากการศึกษา วิจัย ส่งเสริม พัฒนาต่อยอด ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น  จนเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญของชุมชน  ท้องถิ่น และประเทศชาติ  โดยความหมายของแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามตัวชี้วัดที่ 1.11 หมายรวมถึง องค์ความรู้ งานวิจัย ตำรา หนังสือ เอกสาร นิทรรศการถาวร ฐานข้อมูล สารสนเทศ สื่อประสม เว็บไซต์ สถานที่ งานวิชาการลักษณะอื่น ๆ หรือ กิจกรรม โครงการ งานประเพณีด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการดำเนินการ  เพื่อนำไปสู่การสร้างความตระหนัก ความรัก ความหวงแหน ของประชาชน เยาวชน และนักศึกษาในพื้นให้บริการของมหาวิทยาลัย
          การทำนุบำรุงด้านศิลปะและวัฒนธรรม จะมุ่งเน้นเพียงการสืบสานเพียงอย่างเดียวมิได้ การสืบค้นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นการดำเนินงานในเชิงรุก  เพื่ออนุรักษ์ให้ศิลปวัฒนธรรมยังคงอยู่และได้รับการสืบทอดอย่างเป็นรูปธรรม  โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงวิชาการ  และสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา  ซึ่งการทำงานดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับส่งเสริมและสนับสนุนเป็นอย่างมาก  เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เปิดมุมมองด้านวัฒนธรรมที่มีความทันสมัยตามการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน แต่ยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ความเป็นไทย
          สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของ “โครงการเสริมสร้างคุณค่าและรักษ์ท้องถิ่น เพื่อสืบสานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยและอัจฉริยะภาพด้านดนตรี”  ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสืบค้นศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย  โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากปราชญ์พื้นบ้าน  ผู้รู้ของชุมชน ผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่าง ๆ เครือข่ายด้านวัฒนธรรม แล้วนำมาสังเคราะห์ เรียบเรียงในรูปแบบเอกสารเชิงวิชาการและไฟล์ดิจิตอล รวมถึงการผลิตสื่อออนไลน์ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย สำหรับการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์  นอกจากนี้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรมได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับเยาวชน นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป  เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านศิลปวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆ อย่างถูกต้องผ่านการฝึกปฏิบัติจริง  การประสานความร่วมมือกับชุมชนในพื้นที่  โดยนำแนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์มาพัฒนาสินค้าต้นแบบด้านศิลปวัฒนธรรม  เพื่อให้เกิดคุณค่าและการเพิ่มมูลค่า และต่อยอดให้เกิดผลผลิตที่มาจากวิถีชีวิต และภูมิปัญญาของชุมชน การจัดกิจกรรมการประกวดด้านศิลปะและวัฒนธรรม  สำหรับเยาวชน นักศึกษาและบุคคลทั่วไป  ให้มีพื้นที่แสดงผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมในศาสตร์ที่มีความสนใจ  จากนั้นพิจารณาคัดเลือกเยาวชนต้นแบบที่ได้รับรางวัลเพื่อส่งเสริมคุณค่าด้านศิลปะและวัฒนธรรมในตัวบุคคล  อันจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจในการสืบสานและต่อยอดศิลปะและวัฒนธรรมต่อไป  รวมถึงการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้เป็นต้นแบบในการปฏิบัติตน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะจะหลอมรวมทำให้เยาวชน นักศึกษา และชุมชน  เกิดความภาคภูมิใจ  รักษ์และหวงแหน มรดกทางวัฒนธรรมอย่างรู้คุณค่า
          สำนักศิลปะและวัฒนธรรม  ยังมุ่งเน้นการให้ความสำคัญต่อการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยได้ร่วมแสดงความจงรักภักดี และตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตนสนองพระมหากรุณาธิคุณให้เต็มความสามารถในอันที่จะพัฒนาสถาบันราชภัฏให้เป็น สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ให้สมนามราชภัฏ “คนของพระราชา”  และตระหนักถึงความสำคัญในการจะพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์
          1. เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมภายในชุมชน  โดยมีข้อมูลความรู้อย่างเป็นระบบ สะดวกแก่การศึกษาค้นคว้า และเผยแพร่ให้ความรู้
          2. เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินท้องถิ่นด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ให้เป็นต้นแบบในการปฏิบัติตน
          3. เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ผ่านการฝึกปฏิบัติจริงให้กับเยาวชน นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป
          4. เพื่อส่งเสริมการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรมจากวัฒนธรรมจากวิถีชีวิต และภูมิปัญญาของชุมชน
          5. เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป ได้มีพื้นที่ในการแสดงผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม และพิจารณาคัดเลือกเยาวชนต้นแบบที่ได้รับรางวัลจากการประกวดด้านศิลปะและวัฒนธรรม
          6. เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม และจัดทำข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย อีบุ๊ค และเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์
          7. เพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไท รักษ์ท้องถิ่น และอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของไทย อย่างรู้คุณค่า
          8. เพื่อเผยแพร่กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่นของท้องถิ่น
          9. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและเครือข่ายด้านวัฒนธรรม

ผลผลิต (Output)
          1. แหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมภายในชุมชน ได้รับการจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ สะดวกแก่การศึกษาค้นคว้า และเผยแพร่ให้ความรู้
          2. ศิลปินท้องถิ่นด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ เพื่อให้เป็นต้นแบบในการปฏิบัติตน
          3. เยาวชน นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะด้านศิลปวัฒนธรรมด้วยการฝึกปฏิบัติจริง
          4. ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้รับการพัฒนาด้วยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน
          5. เวทีการประกวดเพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป ได้มีพื้นที่ในการแสดงผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม
          6. เยาวชนต้นแบบที่ได้รับรางวัลจากการประกวดด้านศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมคุณค่าด้านศิลปะและวัฒนธรรมในตัวบุคคล
          7. องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ได้รับการรวบรวมและเรียบเรียงในเชิงวิชาการ
          8. เวทีการแสดงด้านศิลปะและวัฒนธรรมที่มีนักศึกษาเป็นร่วมของการแสดง
          9. สถาบันการศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนนักเรียน นักศึกษาในการพัฒนาศักยภาพด้านศิลปะและวัฒนธรรม
          10. ผลิตสื่อมัลติมีเดียเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา เพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบออนไลน์
          11. ผลิตอีบุ๊ค เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และเผยแพร่ข้อมูลสำหรับการสืบค้นแบบออนไลน์
          12. เยาวชน นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป ได้รับการเสริมสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไท รักษ์ท้องถิ่น

ผลลัพธ์ (Outcome)

          1. มีการพัฒนาความรู้และทักษะด้านศิลปวัฒนธรรมให้กับเยาวชน นักศึกษา คณาจารย์และบุคคลทั่วไป  เพื่อให้เกิดการสืบสานและสืบทอดทางวัฒนธรรมอย่างรู้คุณค่า
          2. มีการเผยแพร่องค์ความรู้ทางศิลปวัฒนธรรมในช่องทางที่หลากหลาย  เพื่อให้เกิดการสืบค้นและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
          3. คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้ภายในชุมชน
          4. มีการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมร่วมกับการเรียนการสอนและการให้บริการวิชาการ เพื่อให้เยาวชนเกิดภาคภูมิใจในความเป็นไท และรักษ์ท้องถิ่น


ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรพร  พรหมมาศ  ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม