Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การเรียนการสอน
โครงการยกระดับมาตรฐานบัณฑิตครูสู่ความเป็นเลิศ กิจกรรมย่อยที่ 4 การส่งเสริมทักษะและคุณลักษณะความเป็นครูตาม Model Competency หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
SDGs :
4
4 มีนาคม 2566 - 19 สิงหาคม 2566
คณะครุศาสตร์
โครงการยกระดับมาตรฐานบัณฑิตครูสู่ความเป็นเลิศ
กิจกรรมย่อยที่ 4 การส่งเสริมทักษะและคุณลักษณะความเป็นครูตาม Model Competency หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
หลักการและเหตุผล
การพัฒนาครูที่มีคุณภาพและศักยภาพสูงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสังคมที่มีการศึกษาที่ดี เนื่องจากครูเป็นบุคคลสำคัญในการปลูกฝังความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่ดีให้แก่นักเรียน การพัฒนาทักษะและคุณลักษณะความเป็นครูตาม Model Competency ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตจึงเป็นแนวทางในการยกระดับศักยภาพของนักศึกษาครูเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและมีจิตสำนึกในการเป็นครูที่มีคุณภาพ Model Competency ในหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่จำเป็น เช่น ทักษะการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ทักษะการสื่อสาร ทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมถึงการพัฒนาคุณลักษณะเฉพาะที่เหมาะสมกับวิชาชีพครู เช่น จริยธรรม ความรับผิดชอบ และความมีเมตตา การส่งเสริมทักษะและคุณลักษณะเหล่านี้ช่วยให้นักศึกษาครูมีความพร้อมในการทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงจัดโครงการนี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาครูพัฒนาทั้งในด้านทักษะวิชาชีพและคุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญ และให้นักศึกษามีความพร้อมและมีจิตวิญญาณของความเป็นครูที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมผ่านการศึกษาที่มีคุณภาพ
ระยะเวลาดำเนินการ
1.ดำเนินการจัดกิจกรรมการส่งเสริมกิจกรรมหลักสูตรพัฒนาอัตลักษณ์นักศึกษาครูตามมาตรฐานการปฏิบัติตนของคุรุสภา สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 ทุกสาขาวิชา ดำเนินการวันที่ 19 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมชั้นล่างหอนิทรรศการและประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ (ย่านมัทรี) และห้องประชุมอาคาร 8 จัดให้ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนตามมาตรฐานการปฏิบัติของคุรุสภา และออกแบบหลักสูตรอัตลักษณ์บัณฑิต
2.ดำเนินการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานการวิชาชีพครู สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ทุกสาขาวิชา ดำเนินการเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2566 ณ หอประชุมใหญ่(มอใน) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จัดให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาทักษะผู้เรียนและนำไปประยุกต์ใช้บูรณาการในการจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติวิชาชีพ
3.ดำเนินการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะผู้นำวิชาการและบูรณาการการจัดการเรียนการสอนสู่ชุมชน สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ทุกสาขาวิชา ดำเนินการเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2566 ณ หอประชุมใหญ่(มอใน) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จัดให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะผู้นำทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนกับการพัฒนาชุมชน การพัฒนาทักษะผู้นำวิชาการและบูรณาการการจัดการเรียนการสอนสู่ชุมชน
4.ดำเนินการจัดกิจกรรมการบูรณาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลกับการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 3 ทุกสาขาวิชา ดำเนินการเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566ณ หอประชุมใหญ่(มอใน) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จัดให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้กับการพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 การบูรณาการสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลกับการพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่
ผลผลิต
นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตทุกสาขาวิชาทุกชั้นปีได้รับการส่งเสริมทักษะและคุณลักษณะความเป็นครูตาม Model Competency
ผลลัพธ์
นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตทุกสาขาวิชาทุกชั้นปีได้รับการส่งเสริมทักษะและคุณลักษณะความเป็นครูและกิจกรรมส่งเสริมความเป็นครูที่คุรุสภากำหนด
ผลกระทบ
นักศึกษาคณะครุศาสตร์พัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยส่งผลให้นักศึกษาแต่ละชั้นปีมีคุณลักษณะตาม Model Competency หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต ดังนี้
1.นักศึกษาชั้นปีที่ 1 มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนตามมาตรฐานการปฏิบัติของคุรุสภา
2.นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาทักษะผู้เรียนและนำไปประยุกต์ใช้บูรณาการในการจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติวิชาชีพได้
3.นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และนำความรู้ไปบูรณาการการฝึกปฏิบัติทางวิชาชีพ และมีภาวะผู้นำทางวิชาการ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
รศ.ดร.เยาวเรศ ภักดีจิตร
คณะครุศาสตร์
คณะครุศาสตร์
คณะครุศาสตร์
คณะครุศาสตร์
คณะครุศาสตร์
คณะครุศาสตร์