Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
การเรียนการสอน

โครงการยกระดับมาตรฐานบัณฑิตครูสู่ความเป็นเลิศ กิจกรรมย่อยที่ 11 กิจกรรมวิศวกรสังคมสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนานวัตกรรมในการบูรณาการการเรียนการสอนสู่การพัฒนาท้องถิ่น

SDGs : 4 11 17

13-14 กรกฎาคม 2566 คณะครุศาสตร์

โครงการยกระดับมาตรฐานบัณฑิตครูสู่ความเป็นเลิศ
กิจกรรมย่อยที่ 11 กิจกรรมวิศวกรสังคมสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนานวัตกรรมในการบูรณาการการเรียนการสอนสู่การพัฒนาท้องถิ่น
หลักการและเหตุผล
        การบูรณาการการเรียนการสอนกับการพัฒนาท้องถิ่นจะช่วยให้นักศึกษาได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์จริง ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาทักษะที่สำคัญ เช่น การวิเคราะห์ปัญหา การคิดอย่างสร้างสรรค์ และการทำงานเป็นทีม นอกจากนี้ยังช่วยให้เห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนและการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของปัญหาและความต้องการของชุมชน ทำให้เกิดโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น กิจกรรมวิศวกรสังคมสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนานวัตกรรมในการบูรณาการการเรียนการสอนสู่การพัฒนาท้องถิ่นจึงเป็นวิธีการที่สำคัญในการสร้างการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาในการเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเองในอนาคต
ระยะเวลาดำเนินการ
ในระหว่างวันที่ 13 - 14 กรกฏาคม พ.ศ. 2566
ผลผลิต
1. มีวิศวกรสังคมที่เป็นนักพัฒนาเพื่อชุมชนท้องถิ่น

2. นักศึกษาได้รับองค์ความรู้และแนวทางในการแก้โจทย์ปัญหาเชิงพื้นที่ สำหรับการต่อยอดและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและชุมชนได้
ผลลัพธ์
1. จำนวนเข้าร่วมวิศวกรสังคมสร้างนวัตกรรมเพื่อพัฒนานวัตกรรมในการบูรณาการการเรียนการสอนสู่การพัฒนาท้องถิ่น นักศึกษาคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 1   เข้าร่วม จำนวน 90 คน    
2. นักศึกษามีความเข้าใจปรากฏการณ์ของปัญหาในแต่ละพื้นที่ สามารถคิดวิเคราะห์รู้เหตุผลของปัญหาและสืบค้นแนวทางแก้ปัญหา ร้อยละ 80
ผลกระทบ
ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักศึกษาและชุมชน


ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทินกร ชอัมพงษ์