Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
บริการวิชาการ

“โครงการพัฒนาจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯ” 1. กิจกรรมหลัก ที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชน

SDGs : 1 3 15

15-16 มีนาคม 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนา

โครงการพัฒนาจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯ นั้นเน้น เรื่อง“สมุนไพร” ภูมิปัญญาและทรัพยากรที่เป็นเอกลักษณ์ และถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมจากธรรมชาติที่คนไทยสืบทอดมานานหลายช่วงอายุคนสะท้อนวัฒนธรรมและเป็นรากฐานเกษตรกรรมที่มีคุณค่าจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตและสังคมไทยมาโดยตลอดเห็นได้จากการนำพืชสมุนไพรมาประกอบเป็นอาหาร ทั้งอาหารคาว อาหารหวาน ยารักษาโรค ใช้สำหรับบำบัดและดูแลสุขภาพ ไปจนถึงการสร้างเสริมความงาม (สุทธิวัลย์ สีทา, 2559) สมุนไพร บางชนิดมีสรรพคุณรักษาอาการได้เฉพาะเจาะจง แต่บางชนิดสามารถรักษาได้หลายอาการในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับผลจากการสกัดสมุนไพรให้คุณประโยชน์ดีกว่ายาประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีพืชที่ใช้เป็นสมุนไพรได้จำนวนมากยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่านั้นความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพรจึงเริ่มขึ้นจากนโยบายสาธารณสุขขั้นมูลฐานโดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเข้าในแผนพัฒนาการสาธารณสุข ตามแผนพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) ต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) โดยมีกลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน ด้วยพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีพื้นบ้านอันได้แก่ การแพทย์แผนไทย เภสัช กรรมแผนไทย การนวดไทยสมุนไพร และเทคโนโลยีพื้นบ้าน เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา สุขภาพของชุมชน และส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยใช้ สมุนไพร การแพทย์พื้นบ้าน การนวดไทย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นระบบสามารถปรับประสานควบคู่กับการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันได้ ดังนั้นพืชสมุนไพรจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้บำบัดรักษาโรคต่าง ๆ และยังสามารถทำเป็นพืชเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรให้มีรายได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งจะนำรายได้มาสู่คนทุกระดับชั้นในประเทศและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้เป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาของการแสวงหาแนวทางและความร่วมมือระหว่างฝ่ายสนับสนุนการลงทุน ฝ่ายผลิตและฝ่ายวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับเรื่องของพืชสมุนไพรเพื่อบำบัดโรคดังกล่าว
            โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้เล็งเห็นโอกาสและศักยภาพในการดำเนินการจึงได้มีการดำเนินโครงการ จัดทำฐานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ดังกล่าว ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและค้นคว้าวิจัยพืชสมุนไพรและเป็นฐานรวบร่วมข้อมูลเพื่อง่ายต่อการต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนและชุมชม ในการนำไปใช้ประโยชน์และการสร้างมูลค่า เกิดการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ กับวิสาหกิจชุมชน เป็นฐานในการขับเคลื่อนดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมาย ต่อไป  โดย มีการกำหนดกิจกรรมไว้ ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติ การเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของวิสาหกิจชุมชน  กิจกรรมที่ 2 จ้างเหมาจัดทำฐานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ จำนวน 15 วิสาหกิจชุมชนและกิจกรรมที่ 3  ค่าจ้างแปรรูปผลิตภัณฑ์ โดยมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจพื้นที่วิสาหกิจชุมชนและพื้นที่ประชาชนที่สนใจในการปลูกพืชสมุนไพรในรูปแบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพื่อรองรับโรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรฯ เพื่อจัดเก็บข้อมูลวิสาหกิจชุมชนและประชาชนที่สนใจการในการปลูกพืชสมุนไพรในรูปแบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อส่งเสริมแหล่งผลิตวัตถุดิบที่ปลอดภัยและรับรองคุณภาพได้เพื่อรองรับโรงงานต้นแบบนวัตกรรมผลิตยาและผลิตภัณฑ์สมุนไพรฯ
ผลผลิต (Output)
1.มีแปลงเกษตรที่ปลูกพืชสมุนไพรแบบปลอดสารพิษและอินทรีย์ที่ได้รับมาตรฐานเกษตรอินทร์โดยร่วมกับวิสาหกิจชุมชนพร้อมทั้งส่งเสริมให้วิสาหกิจมีความรู้เรื่องมาตรฐานเกษตรอินทรีย์สามารถปลูกพืชสมุนไพรที่ได้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์พร้อมส่งผลผลิตเข้าสู่โรงงานแปรรูป เพื่อสร้างรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยและวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการฯ
2. วิสาหกิจชุมชน/ประชาชนทั่วไปได้รับความรู้ เรื่องการเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์และเรื่องระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม (PGS)
ผลลัพธ์ (Outcome)
1.มีแปลงเกษตรที่ปลูกพืชสมุนไพรตัวอย่างที่สามารถขยายพันธุ์สมุนไพรได้
2.วิสาหกิจชุมชนและประชาชนทั่วไปเกิดความรู้และสามารถนำความรู้ไปต่อยอดได้และถ่ายทอดองค์ความรู้ได้
ผลกระทบ (Impact)
1.ด้านเศรษฐกิจ
-ส่งผลให้วิสาหกิจชุนชนและประชาชนสามารถลดรายจ่ายในกระบวนการผลิตเพราะไม่ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต
2.ด้านสิ่งแวดล้อม
-ส่งผลให้ชุมชนมีอากาศที่ดีขึ้นเพราะลดการใช้สารเคมีในชุมชนโดยเกิดจากการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์
3.ด้านสังคม
-ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมในสมาชิกวิสาหกิจชุมชนมากขึ้นโดยการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง