Loading...
มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
จันทร์ - ศุกร์ : 08.30 - 16.30 น.
056-219100-29
NSRU (SDGs)
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
บริการวิชาการ
โครงการพัฒนามูลค่าและคุณค่าสินค้าชุมชนสู่ระบบธุรกิจออนไลน์และสร้างรายได้เชิงพาณิชย์
SDGs :
2
1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
คณะวิทยาการจัดการ
โครงการพัฒนามูลค่าและคุณค่าสินค้าชุมชนสู่ระบบธุรกิจออนไลน์และสร้างรายได้เชิงพาณิชย์
หลักการและเหตุผล
โครงการพัฒนามูลค่าและคุณค่าสินค้าชุมชนสู่ระบบธุรกิจออนไลน์และสร้างรายได้เชิงพาณิชย์ มีเป้าหมายในการส่งเสริม พัฒนาและยกระดับชุมชนหรือผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน ให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ โดย (1) “ต่อยอดอดีต” ด้วยการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการชุมชน พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมตามความถนัด โดยเน้นอัตลักษณ์ จุดเด่น และวิถีชีวิตของชุมชนตามฐานทรัพยากรท้องถิ่นให้สอดรับกับบริบทของพื้นที่ (2) “ปรับปัจจุบัน” ด้วยการพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการให้สามารถประกอบธุรกิจอย่างมืออาชีพ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขัน สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความแตกต่าง โดนใจลูกค้า และ (3) “สร้างคุณค่าใหม่” ด้วยการสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยการออกแบบและนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับรายได้และเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชนฐานราก เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนา การพึ่งตนเองและการจัดการตนเองเพื่อสร้างสังคมคุณภาพ ประกอบด้วยกิจกรรม (1) การสำรวจความต้องการ/ความพร้อมและการติดตามผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการ/ชุมชน (2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบและต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ (3) กิจกรรม การสรุปและรายงานผลการดำเนินงาน
วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2566
ผลผลิต
การส่งเสริม พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายของมหาวิทยาลัย
ผลลัพธ์
กลุ่มสมาชิกสตรีแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้า สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน สามารถจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและเกิดการสร้างรายได้กับชุมชน ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ ประกอบด้วย กระเป๋าใส่ของ กระเป๋าสตรางค์ หมวก ผ้าพันคอ จากผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ
2. ผ่านการรับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เลขที่ 798-2/1626(นว)
3. รายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้าที่พัฒนา (ตั้งแต่เดือนเมษายน- กรกฎาคม 2566) เป็นจำนวนเงิน 77,592 บาท
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสวนลูกแชมป์ สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ปลาร้าทรงเครื่องชนิดก้อนที่มีคุณภาพ ผ่านการรับรองมาตรฐาน อย. สามารถจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและเกิดการสร้างรายได้กับชุมชน ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์ปลาร้าทรงเครื่องชนิดก้อนที่
เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์และสามารถบริโภคได้หลากหลายเมนูมากยิ่งขึ้น เช่น นำน้ำพริกปลาร้าทรงเครื่องชนิดก้อนละลายน้ำร้อนเพื่อคืนรูปเป็นน้ำพริกปลาร้าทรงเครื่องทานกับผักที่ชอบได้ทันที หรือใช้น้ำพริกปลาร้าทรงเครื่องชนิดก้อนเป็นพริกแกงในการปรุงเมนูแกงต่าง ๆ ได้
2. ผ่านการรับรองมาตรฐาน อย. หมายเลข อย. 61-2-00353-6-0008
3. รายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้าที่พัฒนา (ตั้งแต่เดือนเมษายน- กรกฎาคม 2566) เป็นจำนวนเงิน 41
,
700 บาท
ผลกระทบที่ได้จากโครงการ
ผลิตภัณฑ์ชุมชน จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการสร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย ประกอบด้วย
1) ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ ของกลุ่มสตรีแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้า ต.หนองโพ
จ.นครสวรรค์ เช่น กระเป๋าใส่ของ กระเป๋าสตางค์ หมวก ผ้าพันคอ เป็นต้น (มีรายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้าที่พัฒนาตั้งแต่เดือนเมษายน- กรกฎาคม 2566 เป็นเงิน 77,592 บาท)
2) ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ปลาร้าทรงเครื่องชนิดก้อน จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสวนลูกแชมป์ ต.หนองแก จ.อุทัยธานี (มีรายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้าที่พัฒนาตั้งแต่เดือนเมษายน- กรกฎาคม 2566 เป็นเงิน 41
,
700 บาท)
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จิตาพัชญ์ ใยเทศ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์อธิกัญญ์ มาลี
อาจารย์สุเมธ พิลึก
ผู้ข่วยศาสตราจารย์ลฎาภา ร่มภูชัยพฤกษ์
อาจารย์ภูริพัศ เหมือนทอง
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ
คณะวิทยาการจัดการ